|
หลิมฮู้ไท่ซือ 林府太師
หลิมไท่ซือ 林太師 หรือ หลิมฮู้ไท่ซู หรือหลินฝุ๋ไท่ซือ 林府太師 หรือ หลิมไท่ซือกง 林太師公เป็นเทพเจ้าจีนที่ทางลัทธิเต๋าได้ยกย่องขึ้นเป็นชั้น ไท่ซือ หรือที่ปรึกษา ในนามว่า จิ่วหวงไท่ซือกง 九皇太師公 ผู้เป็นที่ปรึกษาขององค์กิ่วหวงต้าตี้ หรือ กิวอ๋องไต่เต่ ทั้ง ๙ พระองค์ เทพเจ้าหลิมฮู้ไท่ซือเป็นองค์ประธานของศาลเจ้าหลิมฮู้ไท่ซือที่ภูเก็ต สิงคโปร์ มาเลเซีย ตลอดจนประเทศอื่นๆในภูมิภาคนี้ รวมทั้งไต้หวันและแถบมณฑลฝูเจี้ยน เป็นต้น หลิมไท่ซือกง เดิมชื่อ เจ๊ะฉ้วน แซ่หลิม หรือ หลินเจ๊ะฉ้วน 林偕春ชื่อรองว่า หลินฟุ๋หยวน 林孚元 หรือ ลิมเทียนโจ๊ว ถือกำเนิดในตระกูลแซ่หลิมที่ตำบลอวิ๋นเฉี้ยว หรือ ฮุนเสี้ยว เมืองจ้างโจว มณฑลฝูเจี้ยน หรือ ฮกเกี้ยน เมื่อ พ.ศ. ๒๐๘๐ ปีมะแม ตรงกับรัชสมัยฮ่องเต้หมิงซือจง ( จูโฮ่วชง ) ในปีรัชกาลเจี่ยจิ้งที่ ๑๖ จากครอบครัวที่มีฐานะและการศึกษา ในวัยเด็กหลินมีความเฉลียวฉลาด บิดาจึงได้สอนการเขียนอ่านพื้นฐานและความรู้ทั่วไป เพื่อเตรียมตัวสอบเข้ารับราชการ หลินจึงเรียนรู้ได้รวดเร็วในวิชาศิลปศาสตร์ทั้ง ๖ สาขา คือ ยุทธศาสตร์การสงคราม กฎหมายพลเรือน การจัดเก็บภาษี เกษตรกรรม ภูมิศาสตร์ วรรณคดี ลัทธิขงจื่อ รวมทั้งวิชาอื่นๆซึ่งแต่เดิมได้มีการเรียนการสอนกัน เช่น วิชา ดนตรี เลขคณิต การเขียน พิธีกรรมต่างๆ การทหาร การใช้อาวุธต่างๆ การขี่ม้า เป็นต้น ดังนั้นผู้ที่มีสติปัญญาความสามารถ จึงเรียนรู้ทั้งฝ่ายบุ๋นและฝ่ายบู๊ เพื่อเตรียมตัวสอบเข้ารับราชการและการป้องกันตัวเอง ในปีพ.ศ. ๒๑๐๔ เมื่อหลินอายุได้ ๒๔ ปี จึงสมัครสอบเข้ารับราชการ เป็นการสอบระดับอำเภอ เขาสอบได้ในระดับ เซิงหยวนหรือ ซิ่วไฉ หรือ ซิวจ๋าย เทียบได้กับระดับปริญญาตรี หากสอบได้ที่หนึ่งเรียกว่า อ้านโสว หรือ อันซื่อ ในระดับนี้เปิดสอบทุกปี ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๑๐๗ เขาเดินทางไปเมืองจ้างโจว เข้าสมัครสอบในระดับมณฑล เรียกว่า จู่เหยิน เทียบได้กับระดับปริญญาโท จู่เหยินคนใดสอบได้ที่หนึ่งเรียกว่า เจ๊ะหยวน การสอบระดับนี้ จะเปิดสอบทุกสามปี หลินสอบได้ระดับจู่เหยิน เขาจึงเดินทางเข้ากรุงปักกิ่ง เพื่อสมัครสอบในระดับเมืองหลวงต่อไป ที่กรุงปักกิ่ง หลินจึงสมัครเข้าสอบในระดับขั้นสูงสุดของประเทศ ที่เรียกว่า จิ้นซื่อ หรือ จินสือ เทียบได้กับระดับปริญญาเอก ผู้ที่สอบผ่านในระดับนี้สามารถเข้าเฝ้าต่อหน้าพระพักตร์ฮ่องเต้ได้ และมีงานรอให้ทำมีสวัสดิการพร้อม ผู้ที่สอบได้คะแนนสูงสุด ห้าถึงสิบอันดับแรก เข้าไปสอบต่อหน้าพระพักตร์ ผู้ที่ทรงโปรดฯมากที่สุดเมื่อทรงฟังการพูดได้รับตำแหน่ง เรียกว่า จ้วงหยวนหรือ จอหงวน อั |