Bookmark and Share Add to Favorites  
สมาชิกเข้าสู่ระบบ
User Name:
Password:
จำการล็อกอินของฉันไว้
ลืมรหัสผ่าน | สมัครสมาชิก
ลืมรหัสผ่าน
ใสอีเมล์ที่ลงทะเบียนไว้กับเรา
จีนศึกษา
  CHINESE TEXT PROJECT
  STANDARD CHINESE
  เส้นสายลายอักษร
  ลัทธิเต๋า
  รวมเรื่องจีนศึกษา-China Knowledge
  วัฒนธรรมศึกษาจากเว็บต่างๆ
  วัฒนธรรมศึกษาจากภาพ
  พระบรมฉายาลักษณ์ของฮ่องเต้
  มังกรจีนสมัยโบราณ
  มังกรจีนศึกษา
  เลือกเพศให้ลูก
  จีนโบราณจาก บริทิชมิวเซียม
  การเดินทางไกลของเหมาเจ๋อตุง
  จีนในปัจจุบัน
แซ่สกุล
  แซ่ตระกูลที่ใช้กันมาก
  ข้อมูลตระกูลแซ่ต่างๆ
  ประวัติบางแซ่สกุล
  200 แซ่สกุลที่ใช้มาก
  ตระกูลแซ่หลิน
มหาวิทยาลัยชั้นนำ
  BEIJING UNIVERCITY
  Shanghai Jiao Tong University
  Tsinghua University
  Xi'an Jiaotong University
  The Chinese University of Hong Kong
  The University of Hong Kong
  The Hong Kong University of Science and Technology
  Southeast University
  East China Normal University
  Tongji University
  Huazhong University of Science and Technology
  The Hong Kong Polytechnic University
  Tianjin University
  City University of Hong Kong
  Harbin Institute of Technology
  Wuhan University
  China Agricultural University
  Renmin University of China
  Xiamen University
  Fudan University
  Hong Kong Baptist University
  Shandong University
  Nanjing University
  University of Science and Technology of China
  Zhe Jiang University
พิพิธภัณฑ์และหอสมุด
  NATIONAL LIBRARY OF CHINA
  CHINA'S MUSEUMS
  GREAT WALL OF CHINA
  SACRED MOUNTAINS OF CHINA
หนังสือพิมพ์
  ซินหัวไทย
  People's Daily
  Xinhua
  China Daily
  China News
  China .com.cn
  China Youth Daily
เจ - มังสวิรัติ - VEGETARIAN
  เจ-อิ่มบุญ
  พลังบุญ
  เมนูอาหารเจ
  เจทิพย์
  อาหารมังสวิรัติ
  International Vegetarian Union (IVU)
  The Veggie Hub
  Vegetarianism
  A Guide to Vetetarian
  simple-veganista.com/all-recipes
เว็บเครือสมบูรณ์
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
  ตระกูลแซ่หลิน
  ภูเก็ตสารสนเทศ
  สมบูรณ์แก่นโน้ต

พระตักม้อโชวซือ

 

 

 

 

        อิดจ้อโจวซือ  หรือตามนามที่เรียกขานท่านมีหลายชื่อ  คือ  ตัดม้อโจวซือ ตักม้อโจวซือ ตักม้อไท่ซือ พุทิตัดม้อ หรือ พระโพธิธรรม  ตัวจ้อ  พระสังฆปรินายกองค์ที่ ๑  พระสังฆราชโพธิธรรมมหาครูบา  และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ว่า  “อี่กักไท่ซือ”

        พระโพธิธรรม  เป็นชาวอินเดีย  เป็นพระราชโอรสองค์ที่สาม  ของพระมหากษัตริย์อินเดีย ( เฮียงจื่ออ๋อง – ฟ่านกั๋วหวาง )  ท่านประสูติเมื่อ พ.ศ.  ๑๐๑๓   บางตำนานกล่าวว่าพระบิดาของท่านเป็นกษัตริย์แคว้นคันธารราษฎร์ อินเดียตอนเหนือ  บางตำนานกล่าวว่า เป็นกษัตริย์ทางอินเดียตอนใต้  ในช่วงสมัยนั้น พระมหากษัตริย์อินเดีย เป็นราชวงศ์คุปตะ ซึ่งครองอินเดียระหว่างพ.ศ. ๘๖๓ – ๑๐๙๓ ราชวงศ์นี้ได้สนับสนุนทั้งพระพุทธศาสนาและศาสนาเชน ในช่วงที่พระโพธิธรรมประสูติมีกษัตริย์ที่น่าสนใจคือ  พระเจ้ากุมาราคุปต์ที่ ๒  ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๐๑๐ – ๑๐๒๐  และพระเจ้าพุทธคุปต์ ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.  ๑๐๒๐ – ๑๐๔๙ ทรงเป็นชนชาวอารยะผิวขาว มิใช่ชาวทมิฬซึ่งมีผิวดำแถบอินเดียภาคใต้  เมื่อดูพระนามพระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์แล้วน่าจะเป็นองค์หลังมากกว่า เมื่อพระโพธิธรรมพระชนมายุได้ ๗ ปี  พระบิดาเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ ท่านคงได้ศึกษาทางพระพุทธศาสนากับพระอาจารย์และผนวชเป็นพระสงฆ์  เป็น พระโพธิธรรม ( พุทิตักม้อ )  ท่านได้ศึกษาธรรมอย่างสูง และยังได้ศึกษาคัมภีร์ของทุกๆศาสนา ทรงศึกษาวรรณคดีและอักษรศาสตร์โบราณจนแตกฉาน  ทรงเป็นนักปราชญ์ ท่านเคยนั่งเข้าฌานต่อหน้าพระศพของพระบิดาท่านตลอดถึง ๗ วันขณะเมื่ออายุประมาณ ๓๖ ปี

        หลังจากนั้นท่านได้ศึกษาพระพุทธศาสนากับพระสังฆราชปรัชญาตาระเถระ พระสังฆปรินายกองค์ที่ ๒๗ ของอินเดีย  จนอายุได้ ๕๔ ปี จึงเดินทางไปเผยแผ่ธรรมยังประเทศจีนตามคำแนะนำของพระสังฆราช  ท่านเดินทางถึงจีนเมื่อวันที่ ๒๑ ค่ำ เดือน ๙ ที่ท่าเรือเมืองกว่างโจว มณฑลกว่างตง เมื่อ พ.ศ. ๑๐๗๐   โดยมีข้าหลวงเมืองกว่างโจว ชื่อ “ เซียวงัง”เป็นผู้ต้อนรับ  พร้อมกับมีหนังสือแจ้งไปยังราชสำนักที่เมืองเจี้ยนคัง ( นานกิง ) เมืองหลวง  ฮ่องเต้เหลียงอู่จิ้นตี้ ( เซียวหย่วน ) แห่งราชวงศ์เหลียง ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๐๔๕ – ๑๐๙๒  ทรงนับถือพระพุทธศาสนา ฝ่ายมหายาน ทรงเคร่งครัดและเลื่อมใสมาก โปรดฯให้เผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วประเทศ พร้อมทั้งสร้างวัดบวชพระสงฆ์เป็นอันมาก เมื่อทรงทราบเรื่องพระโพธิธรรมจึงให้เข้าเฝ้าที่เมืองเจี้ยนคัง เพื่อทรงสนทนาธรรม

 ฮ่องเต้เหลียงอู่จิ้นตี้ตรัสถามว่า  “ข้า แต่พระโพธิธรรม  โยมได้ก่อสร้างวัด อุโบสถ วิหาร สร้างพระไตรปิฎก อนุญาตให้คนบวช โปรยทาน ถวายภัตตาหารเจแด่พระภิกษุสงฆ์เป็นจำนวนมากเช่นนี้แล้ว โยมจะได้รับกุศลอย่างไรเพียงไร”

พระโพธิธรรมทูลว่า  “ขอ ถวายพระพร  มหาบพิตรจะได้ไม่มากนัก แต่จะได้เพียงสวรรค์สมบัติ  หรือมนุษย์สมบัติเท่านั้น  จะให้ถึงพระนิพพาน  มหาบพิตรจะต้องปฏิบัติทางใจคือบำเพ็ญฌานสมาบัติเท่านั้น”

พระองค์ตรัสถามว่า  “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า  อริยสัจ คืออะไร”

 พระโพธิธรรมตอบว่า “มหาบพิตร  ไม่มี”

 พระองค์ตรัสถามว่า  “ต่อหน้าโยมนี้  คือใคร”

 พระโพธิธรรมตอบว่า  “มหาราชะ  ไม่รู้จัก”

         ฮ่องเต้เหลียงอู่จิ้นตี้ทรงไม่เข้าใจในข้อธรรมที่สนทนาจากคำตอบของพระโพธิ ธรรมเท่าไรนัก  ท่านโพธิธรรมจึงทูลลาแล้วเดินทางต่อไปยังเมืองลั่วหยาง  ขณะที่ท่านเดินทางผ่านตำบลใด เด็กๆต่างกลัวเมื่อเห็นคนต่างถิ่นเป็นแขกมีหนวดเครารุงรัง  ข้างพ่อแม่ต่างกลัวคิดว่าแขกคนนี้จะมาขโมยเด็ก  เมื่อท่านเดินผ่านวัดแห่งหนึ่ง ที่เมืองหนานชิง  เห็นพระภิกษุเสิ่นกวงกำลังเทศน์อยู่ 

 พระโพธิธรรมถามว่า  “ท่านกำลังสอนเรื่องอะไร”

พระเสิ่นกวง  “ผมกำลังสอนเรื่องพระไตรปิฎกอยู่ครับ”

พระโพธิธรรม  “ทำไมต้องสอนพระไตรปิฎกด้วย”

พระเสิ่นกวง    “ผมต้องการให้ชาวบ้านหลุดพ้นจากการเกิดและการตายครับ”

พระโพธิธรรม    “อ้าว ทำไมทำอย่างนั้นละท่าน  ก็ตัวอักษรที่จารึกในพระไตรปิฎกเป็นสีดำ  แล้วกระดาษที่ใช้เขียนก็สีขาว  แล้วจะเอาไปสอนให้ชาวบ้านหลุดพ้นจากการเกิดการตายได้อย่างไรกัน”

       พระเสิ่นกวงหมดปัญญาตอบท่านโพธิธรรม  แต่ ก็เทศน์ต่อไป  ยังนึกในใจว่า พระภิกษุอินเดียเขี้ยวยาวสองซี่นี่มาว่าเราเทศน์ผิดเทศน์ถูก ขอเทศน์จบก่อนเถอะจะถอนเขี้ยวออกมาให้ลูกศิษย์เราดู

        เมื่อเทศน์จบลงจากธรรมาสน์  พระเสิ่นกวงจึงให้ศิษย์ยกน้ำชาไปถวายพระโพธิธรรม  เมื่อท่านฉันเสร็จจึงถอนเขี้ยวใส่ถ้วยชาบอกเด็กให้ยกไปให้พระเสิ่นกวงแล้ว เดินออกจากวัดนั้นไป  ข้างพระเสิ่นกวงเห็นเขี้ยวสองซี่ที่ตนเพียงแต่นึกจะถอนเท่านั้น  แต่พระอินเดียรูปนี้รู้ด้วยจิต มิใช่เป็นพระธรรมดาแน่  จึงรีบเดินตามท่านไปถึงท่าน้ำ  เห็นท่านถอนหญ้าต้นหนึ่งโยนลงไปในแม่น้ำแล้วท่านกระโดดลงไปยืนบนหญ้านั้น

         พระเสิ่นกวงร้องเรียกเพื่อขอโทษ  ท่านได้แต่ยิ้มแถมกวักมือให้กระโดดลงไปด้วย  พระเสิ่นกวงว่ายน้ำไม่เป็นได้แต่ตะโกนเรียก  ยายแก่ข้างฝั่งน้ำเห็นดังนั้นจึงถวายมัดต้นปอให้  พระเสิ่นกวงจึงโยนมัดปอลงไปพร้อมกับกระโดดลงไปด้วยตามพระโพธิธรรม

        ทั้งสองเดินทางถึงภูเขาซงซาน  พักที่วัดเส้าหลิน  เมืองเติงฟง  พระเสิ่นกวงจึงปฏิบัติตนเป็นลูกศิษย์พระโพธิธรรมเพื่อขอศึกษาธรรมชั้นสูงจาก ท่าน  ในช่วงฤดูหนาวหิมะปกคลุมไปทั่ว  ท่ามกลางหิมะแต่พระโพธิธรรมก็ยังนั่งเข้าฌานอยู่ มีพระเสิ่นกวงยืนเฝ้าปรนนิบัติอยู่ใกล้ๆ

 

 พระโพธิธรรมจึงถามว่า  “เธอมายืนตากหิมะอยู่นี่  ต้องการอะไรหรือ”

พระเสิ่นกวง   “ผมมาขอเรียนธรรมะจากท่านอาจารย์ครับ”     เห็นอาจารย์ไม่ตอบ  จึงถามต่อไปว่า   “หัวใจแห่งธรรมะของพระพุทธเจ้านั้น  เป็นสิ่งที่พูดหรือแสดงออกมาให้เห็นได้ ฟังได้ หรือไม่ครับ”

พระโพธิธรรม   “หัวใจแห่งธรรมะของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น ไม่ใช่ได้มาจากผู้อื่น  และไม่ใช่จะสอนให้แก่กันง่ายๆ  เธอมีความศรัทธามากแค่ไหน”

พระเสิ่นกวงได้ยินดังนั้นจึงเข้าไปเอามีดออกมาฟันแขนซ้ายของตนขาดแล้วเอาไป มอบให้อาจารย์  เพื่อแสดงให้เห็นว่าตนมีความศรัทธาในธรรมะมากแค่ไหน

 พระโพธิธรรม  “เธออยากจะเรียนธรรมะอะไร”

 พระเสิ่นกวง   “จิตของผมมันไม่สงบ  ขอให้อาจารย์ทำให้มันสงบด้วยเถิด”

 พระโพธิธรรม   “เธอจงเอาจิตของเธอออกมาซิ ฉันจะทำจิตให้มันสงบเอง”

 พระเสิ่นกวง  “ผมหาจิตไม่พบครับ”

พระโพธิธรรม   “ฉันได้ทำจิตของเธอสงบแล้ว”

  พระเสิ่นกวงได้ยินดังนั้นก็บรรลุธรรมทันทีและได้ศึกษาธรรมต่างๆอีกมากเป็นเวลา หลายปี ข้างพระโพธิธรรมเห็นว่า การศึกษาคัมภีร์อย่างเดียวยากที่จะสำเร็จมรรคผลได้ แต่จะสำเร็จผลนั้นจะต้องเข้านิโรธสมาบัติเท่านั้น  เมื่อคิดได้ดังนี้ ท่านจึงเริ่มบำเพ็ญเพียรด้วยการนั่งหันหน้าเข้ากำแพงศิลาถึง ๙ ปี จึงสำเร็จมรรคผล  ต่อมาพระโพธิธรรมเห็นว่าพระเสิ่นกวงเป็นผู้ที่เหมาะสมที่จะเป็นผู้นำ จึงได้ถ่ายทอด  บาตร จีวร  สังฆาฏิ คำภีร์หลายผูกให้แก่พระเสิ่นกวง  และเปลี่ยนชื่อจากพระเสิ่นกวงเป็น  “พระเว่ยโห” หรือ “ฮุยค้อ”  แล้วได้เดินทางไปเมืองอู่หมิงที่วัดซีเซียยี่ 

 วันหนึ่งพระโพธิธรรมต้องการทดสอบความรู้ทางธรรมะจากศิษย์ทั้งหมด ท่านจึงได้ประชุมแล้วตั้งคำปริศนาธรรมให้ศิษย์ตอบ

 พระโพธิธรรม  “ธรรมะที่แท้จริงนั้นคืออะไร”

 พระเต้าอี้ตอบว่า  “ไม่ยึดติดหนังสือ ไม่ทิ้งไปจากตัวหนังสือ อยู่เหนือการยอมรับและเหนือการปฏิเสธครับ”

 พระโพธิธรรม  “  เอ้า ถูก  เธอจงเอาหนังฉันไป”

 พระภิกษุณีจุงชื้อตอบว่า “เหมือนกับพระอานนท์เห็นพุทธภูมิเพียงแวบเดียวแล้วไม่เคยเห็นอีกเลยค่ะ”

 ท่านอาจารย์  “เอ้า ถูก  เธอจงเอาเนื้อฉันไป”

 ข้างพระฮุยค้อยืนสงบนิ่งไม่ปริปากตอบว่ากระไร ใช้ความนิ่งเป็นคำตอบ

 ท่านอาจารย์  “ เอ้า  ถูก  เธอเอากระดูกฉันไป”

      พระโพธิธรรมมาประเทศจีนครั้งนั้นก็เพื่อสลายร่างกายของท่านแจกไปทั้งสามคนจน หมด ท่านจึงไม่มีอะไรอีกแล้ว  อย่างไรก็ตามธรรมะที่ท่านได้สนทนากับพระฮุยค้อมีหลายเรื่องที่น่าสนใจ

         ในช่วงที่ท่านเป็นสังฆปรินายกองค์ที่ ๑ ของจีนนั้น  ย่อมมีพระบางรูปอิจฉาแล้ววางแผนสังหารท่านด้วยยาพิษถึง  ๖ ครั้ง  พระที่ว่าคือ พระโพธิรักษ์กับพระกวงตุงซึ่งมีตำแหน่งเป็นรองประธานคณะสงฆ์  การวางยาพิษด้วยการใส่ลงไปในอาหารเจให้ท่านฉัน  ท่านทราบและฉันเข้าไปด้วย  แต่ท่านมีวิธีการแก้ไขจนรอดชีวิต 

        เมื่อถึงกาลเวลาที่จะดับขันธ์ท่านจึงประชุมศิษย์แล้วนั่งสมาธิเข้าฌานจน ดับขันธ์ เป็นปีไท่ชิงที่ ๓ พ.ศ. ๑๐๙๒เมื่อความทรงทราบถึงฮ่องเต้เหลียงอู่จิ้นตี้  พระองค์จึงพระราชทานสมณศักดิ์ให้ว่า “อี่กักไท่ซือ” แล้วโปรดฯให้สร้างพระสถูปเจดีย์บรรจุพระศพพระโพธิธรรม พร้อมกับจารึกสมณศักดิ์ดังกล่าวไว้ที่หน้าพระสถูปด้วย  และยังได้พระราชทานนามพระสถูปองค์นี้ว่า “พระสถูปโคงกวง” ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่เนินเขาฮิงยื่อซาน

         ท่านเสนาบดีซุงหยุงแห่งราชวงศ์เว่ยตะวันออกพ.ศ.  ๑๐๗๗ – ๑๐๙๓  ได้เดินทางผ่านภูเขาจุงหนานที่เมืองซุนหลิง  ท่านได้พบพระโพธิธรรมกลางทาง  พระโพธิธรรมบอกว่า  “ฮ่องเต้ของท่านจะเสด็จสวรรคตวันนี้ ขอให้ท่านรีบเดินทางเข้าเมืองหลวงเถิด”  ท่านซุงหยุงฉงนใจว่าพระรูปนี้ทราบได้อย่างไร 

  แล้วกลับถามพระว่า  “พระคุณเจ้าจะไปไหน”

 พระท่านตอบว่า  “อาตมากำลังเดินทางกลับไปประเทศอินเดีย ที่มาจีนครั้งนี้ต้องการจะมอบของบางอย่างให้แก่คนสามคน”

         เมื่อเสนาบดีซุงหยุงเดินทางถึงเมืองหลวงปรากฏว่าฮ่องเต้เซียวจิ้นตี้ ( หยวนซ่านเจี้ยน )เสด็จสวรรคตจริงตามที่พระท่านบอก ซึ่งเป็นปีอู่ติ้งที่ ๘ พ.ศ. ๑๐๙๓ เมื่อซุงหยุงถามถึงพระโพธิธรรมว่าท่านพำนักอยู่ที่ใด  ชาวเมืองตอบว่า  ท่านได้มรณภาพไปนานแล้ว  ทุกคนก็เอะใจจึงเดินทางไปยังสุสานของท่าน  ปรากฏว่าหลุมพระศพว่างเปล่า มีรองเท้าอยู่ข้างเดียวเท่านั้น

        หลังจากท่านมรณภาพแล้ว  พระฮุยค้อดำเนินงานพระพุทธศาสนาตามที่พระโพธิธรรมได้ทรงมอบหมาย และเป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ ๒

 

 

 

 

 

 

        :   สมบูรณ์ แก่นตะเคียน     กันยายน  ๒๕๕๐

 

 

 

 

Title :   Patriarch Bodhidharma ; First Chinese Patriarch of Mahayana.

 

 

 

       :    Somboon Kantakian 

 

 

 

 

 

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน