Bookmark and Share Add to Favorites  
สมาชิกเข้าสู่ระบบ
User Name:
Password:
จำการล็อกอินของฉันไว้
ลืมรหัสผ่าน | สมัครสมาชิก
ลืมรหัสผ่าน
ใสอีเมล์ที่ลงทะเบียนไว้กับเรา
จีนศึกษา
  CHINESE TEXT PROJECT
  STANDARD CHINESE
  เส้นสายลายอักษร
  ลัทธิเต๋า
  รวมเรื่องจีนศึกษา-China Knowledge
  วัฒนธรรมศึกษาจากเว็บต่างๆ
  วัฒนธรรมศึกษาจากภาพ
  พระบรมฉายาลักษณ์ของฮ่องเต้
  มังกรจีนสมัยโบราณ
  มังกรจีนศึกษา
  เลือกเพศให้ลูก
  จีนโบราณจาก บริทิชมิวเซียม
  การเดินทางไกลของเหมาเจ๋อตุง
  จีนในปัจจุบัน
แซ่สกุล
  แซ่ตระกูลที่ใช้กันมาก
  ข้อมูลตระกูลแซ่ต่างๆ
  ประวัติบางแซ่สกุล
  200 แซ่สกุลที่ใช้มาก
  ตระกูลแซ่หลิน
มหาวิทยาลัยชั้นนำ
  BEIJING UNIVERCITY
  Shanghai Jiao Tong University
  Tsinghua University
  Xi'an Jiaotong University
  The Chinese University of Hong Kong
  The University of Hong Kong
  The Hong Kong University of Science and Technology
  Southeast University
  East China Normal University
  Tongji University
  Huazhong University of Science and Technology
  The Hong Kong Polytechnic University
  Tianjin University
  City University of Hong Kong
  Harbin Institute of Technology
  Wuhan University
  China Agricultural University
  Renmin University of China
  Xiamen University
  Fudan University
  Hong Kong Baptist University
  Shandong University
  Nanjing University
  University of Science and Technology of China
  Zhe Jiang University
พิพิธภัณฑ์และหอสมุด
  NATIONAL LIBRARY OF CHINA
  CHINA'S MUSEUMS
  GREAT WALL OF CHINA
  SACRED MOUNTAINS OF CHINA
หนังสือพิมพ์
  ซินหัวไทย
  People's Daily
  Xinhua
  China Daily
  China News
  China .com.cn
  China Youth Daily
เจ - มังสวิรัติ - VEGETARIAN
  เจ-อิ่มบุญ
  พลังบุญ
  เมนูอาหารเจ
  เจทิพย์
  อาหารมังสวิรัติ
  International Vegetarian Union (IVU)
  The Veggie Hub
  Vegetarianism
  A Guide to Vetetarian
  simple-veganista.com/all-recipes
เว็บเครือสมบูรณ์
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
  ตระกูลแซ่หลิน
  ภูเก็ตสารสนเทศ
  สมบูรณ์แก่นโน้ต

พระเฉ่งจุ้ยโจวซือกง 清水祖師公

 

 

        เทพเจ้าจีนที่บรรดาคนจีนเคารพนับถือกันมา  ที่เป็นพระสงฆ์ทางพุทธศาสนาลัทธิมหายานนั้นมีไม่กี่องค์  ตามศาลเจ้าจีนที่ภูเก็ตเท่าที่สังเกตมีน้อยมาก คือ  พระโจวสู่กง หรือ จอซือกง หรือ จอสู่กง  ซึ่งมีศาลเจ้าอยู่      แห่ง  คือ ที่ตลาดในเมือง บริเวณวงเวียนหอนาฬิกาคือศาลเจ้าฮกหงวนกง บ้านหล่อโรงคือศาลเจ้าซุ่ยบุ่นต๋อง ที่บ้านระเงงหรือนาคาคือศาลเจ้าฮุนจองอ้าม และที่บ้านทุ่งคาพะเนียงแตก สามกอง คือศาลเจ้ายกเค่เก้ง  ส่วนตามศาลเจ้าต่างๆ จะมีรูปปั้นหรือแกะสลักของท่านอยู่แทบทุกศาลเจ้า

 

        พระชิงสุ่ยจวี่ซือ  清水祖師 พระโจวสู่กง 袓師公  เดิมชื่อ  ผูชวี  เป็นคนตระกูล แซ่เฉิน ( แซ่ตัน )  ท่านถือกำเนิดที่เชิงเขากู่ซาน  หมู่บ้านเสี่ยวก้อ  ตำบลหยองฉ้วน คืออำเภอหยองฉ้วน 永春 จังหวัดเฉวียนโจว 泉州 มณฑลฝูเจี้ยน 福建省  เมื่อวันที่ ๖ ค่ำ เดือน ๑ ตามปฏิทินจีน  แต่ปี พ.ศ. กำเนิดต่างมีความคิดเห็นแตกต่างกัน  คือ พ.ศ. ๑๕๕๔   พ.ศ. ๑๕๘๗  และ พ.ศ. ๑๕๙๐  แต่ในที่นี้ใช้ พ.ศ. ๑๕๘๗ เป็นหลัก  (ตามที่นายจี้หยวน นักวิจัยมหาวิทยาลัยแห่งชาติเฉิงชี ไทเป ไต้หวัน  ซึ่งเขาได้อ้างอิงจากบทความของ หลิน ซีสุ้ย  จากวารสารภาคผนวกของวารสารอายุ่ย  พิมพ์ที่ไทเปโดยสมาคมอันซีแห่งไทเปเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ )    เป็นปีวอก ตรงกับรัชสมัยฮ่องเต้ซ่งเหรินจง (  จ้าวเจิน )  ใช้ปีรัชกาลว่าชิงหลี่ เป็นปีที่ ๔  แห่งราชวงศ์ซ่งเหนือ  ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.  ๑๕๖๕ – ๑๖๐๖  มีเมืองไคฟงเป็นเมืองหลวง  นามบิดามารดามิได้ปรากฏ

 

        จากตำนานกล่าวว่า  ท่านผูชวีได้ช่วยบิดามารดาเลี้ยงแพะแถบเชิงเขากู่ซาน   แต่สิ่งหนึ่งที่ท่านแตกต่างจากชาวจีนฮั่นทั่วไปก็คือ  ท่านมีผิวดำ ตัวดำ หน้าดำ จมูกโด่งและงองุ้ม   ซึ่งอาจจะสืบเชื้อสายมาจากชาวอินเดียแขกทมิฬทางภาคใต้ที่เดินทางมาค้าสำเภากับพวกอาหรับที่มาจอดแวะท่าเรือเมืองเฉวียนโจว  อีก ประการหนึ่งพื้นเพเดิมของชาวเมืองแถบนี้ก่อนที่ชาวจีนฮั่นจะอพยพลงมา มีพวกชนพื้นเมืองอาศัยอยู่ก่อนแล้ว ชนพวกนี้กล่าวกันว่าอพยพขึ้นไปจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

         ท่านผูชวีมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดตั้งแต่สมัยเด็ก  นิสัยชอบศึกษาหาความรู้ทั้งฝ่ายบู๊และฝ่ายบุ๋นเช่นเดียวกับเด็กวัยรุ่นทั่วไป  แต่ที่แตกต่างจากเด็กทั่วไปก็คือท่านชอบศึกษาคำสอนในพระพุทธศาสนาตั้งแต่ยังเยาว์  ท่านศึกษาได้ลึกซึ้งและแตกฉาน  ใน ฐานะที่เป็นคนอาศัยอยู่แถบเชิงเขาที่มีพืชนานาชนิด ท่านจึงได้ศึกษาเรื่องพืชสมุนไพรไปด้วย จนสามารถนำมาประกอบเป็นยารักษาคนไข้ได้จนเชี่ยวชาญและเป็นแพทย์ประจำตำบลอีกด้วย

        ต่อมาท่านได้ถือเพศบรรพชิตในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน  ท่านบวชวัดไหนไม่ปรากฏ แต่ต่อมาท่านได้มาพำนักที่วัดหมู่บ้านเผิงไหล 蓬莱 อำเภออันซี 安溪แขวงเฉวียนโจว  ตอนบวชน่าจะได้ฉายาว่า  เหอซั่ง  พระโจวสุ่กงผู้มีจิตใจโอบอ้อมอารี  ได้อบรมสั่งสอนธรรมะแก่ชาวบ้านทั้งที่หมู่บ้านเผิงไหลและตำบลใกล้เคียง  และยังได้ช่วยเหลือเครื่องอุปโภคบริโภคและเงินทองแก่ผู้ยากไร้ 

        ด้วยความรู้แพทย์แผนจีนอย่างดี  พระโจวสู่กงจึงช่วยรักษาผู้ป่วยในหมู่บ้านนอกจากกิจกรรมดังกล่าวแล้วพระโจวสู่กงยังได้พัฒนาหมู่บ้าน ด้วยการออกทุนทรัพย์ร่วมกับชาวบ้านก่อสร้างสะพาน ถนนหนทางหลายแห่ง  ก่อสร้างอาคารเพื่อประกอบพิธีขอฝนประจำหมู่บ้าน 

 

        แต่การศึกษาทางธรรมะของท่านก็เป็นไปด้วยดี  จนท่านมีภูมิธรรมสูงได้ชื่อว่า  พระผู้มีน้ำใจใสสะอาดบริสุทธิ์  คือ เฉ่งจุ้ยโจวซือ  หรือ ชิงสุ่ยจวี่ซือ  ซึ่งหมายถึงพระผู้สำเร็จธรรมชั้นสูงเทียบได้กับพระอรหันต์

 

        ณ ที่ตำบลเผิงไหล มีหน้าผาระหว่างภูเขาเผิงไหลซานกับภูเขาหลิงสิ่วซาน  หน้าผาแห่งนี้เดิมชาวบ้านเรียกว่า  หน้าผาจางเอี๋ยน  ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นหน้าผาชิงสุ่ย หรือ เฉ่งจุ้ย  เพื่อเป็นเกียรติแก่พระโจวสู่กง  หรือ พระเฉ่งจุ้ยโจวซือ 

 

        ในปี พ.ศ.  ๑๖๒๖  ตรงกับรัชสมัยฮ่องเต้ซ่งเสินจง  ( จ้าวชวี )  แห่งราชวงศ์ซ่งเหนือ  ใช้ปีรัชกาลว่า  หยวนเฟิงที่ ๖  ได้เริ่มก่อสร้างวัดบนหน้าผาเฉ่งจุ้ย  และให้ชื่อว่า วัดเฉ่งจุ้ยโจวซือ  หรือ ชิงสุ่ยเอี๋ยน  清水岩 หรือ วัดเผิงไหล   ขณะที่พระเฉ่งจุ้ยโจวซืออายุได้  ๓๙ ปี  ตัวอาคารของวัดคงจะได้พัฒนาก่อสร้างเพิ่มเติมเรื่อยมา

 

        สระน้ำฝางเจียนทรงสี่เหลี่ยม อยู่ด้านหน้า  กล่าวกันว่าในช่วงที่พระโจวสู่กงกำลังก่อสร้างวัดอยู่นั้น  ท่านได้เดินทางเข้าไปในตัวเมืองอันซีเพื่อซื้อต้นไม้สนจีนที่ต้นตรงไม่คด  ผู้ขายเจ้าของไม้มีต้นไม้แบบดังกล่าวจำนวนไม่กี่ต้นและลำต้นยังเล็กอยู่ด้วย เขาจึงขายให้ท่านด้วยเงินเพียงเล็กน้อย  และสัญญากับท่านให้ตัดไม้ภายในห้าวัน  ท่านดีใจมากกลับวัดให้ขุดสระสี่เหลี่ยมแล้วเจาะรูเล็กๆตรงกลางสระ  ฝ่ายชาวบ้านและพระลูกวัดทำตามที่ท่านสั่ง  ไม่เข้าใจว่าท่านให้ทำเพื่ออะไร  ครั้นภายหลังวันนั้นในเวลากลางคืน  เกิดพายุทั้งลมทั้งฝนพัดจัดโค่นเอาต้นสนจีนที่ท่านต้องการล้มลง  ท่านจึงให้ลากลงไปในโคลนแล้วหายไป  พอถึงวันที่สาม ปรากฏว่าต้นสนดังกล่าวโผล่ขึ้นมาจากรูในสระที่ขุดไว้  ชาวบ้านและพระลูกวัดต่างช่วยกันลากไม้ขึ้นมารวมเก้าต้นซึ่งครบตามที่ต้องการ  ขณะเมื่อต้นที่สิบกำลังโผล่ขึ้นมาพวกเขาต่างร้องว่า “พอแล้ว”  ต้นสนต้นนั้นหยุดกึกปิดรูที่ขุดเสียจนปรากฏตออยู่จนบัดนี้

 

        พระเฉ่งจุ้ยโจวซือได้ปฏิบัติธรรมและบริการสังคมในละแวกนั้น จนอายุได้ ๖๕ ปี   จึงมรณภาพ เมื่อ พ.ศ.  ๑๖๕๒ ปีชวด ตรงกับรัชสมัยฮ่องเต้ฮุยจง ( จ้าวจี๋ ) แห่งราชวงศ์ซ่งเหนือ ใช้ปีรัชกาลว่า ต้ากวนปีที่ ๒  ศพได้ประกอบพิธีฝังไว้บริเวณหลังวัด  ต่อมาได้มีการสร้างเจดีย์หน้าหลุมฝังศพซึ่งชาวบ้านเรียกว่า เจิ้นข้อง และได้นำคำนี้ไปเรียกขานต่อท้ายสมณนามของท่าน เป็น ชิงสุ่ยจวี่ซือเจิ้นข้อง นอกจากนี้ยังได้สร้างแท่นบูชาไว้หน้าหลุมศพด้วย  ต่อมาได้มีการสร้างรูปจำลองของท่านประดิษฐานไว้ที่แท่นบูชาในศาลาอาคารวัดเผิงไหล

 

        ในปี พ.ศ.  ๑๗๐๗  ปีรัชกาลหลงซิงที่ ๒  ของฮ่องเต้ซ่งเซียวจง  ( จ้าวเซิน ) แห่งราชวงศ์ซ่งใต้  ทรงครองราชสมบัติระหว่าง พ.ศ.  ๑๗๐๕ – ๑๗๓๒  ณ เมืองหลิ่นอาน หรือ หางโจวในปัจจุบัน  มณฑลเจ๋อเจียง  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้แต่งตั้งสมณศักดิ์แก่  พระชิงสุ่ยจวี่ซือ  สูงขึ้น เป็น  “จาวอิงไท่ซือ”  และยังโปรดฯให้ก่อสร้างศาลเจ้าไว้หน้าสุสานด้วย

 

วัดเฉ่งจุ้ยโจวซือในปัจจุบัน

 

        ดังได้กล่าวแล้วว่าวัดนี้มีอายุมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่งเหนือตั้งแต่ พ.ศ.  ๑๖๒๖  เก้าร้อยปีเศษ  เมื่อมองดูสภาพวัดในปัจจุบันที่ทางการจีนได้อนุรักษ์เอาใจใส่บูรณปฏิสังขรณ์ตลอดมา  ทำให้ผู้มีจิตศรัทธาและนักท่องเที่ยวต่างเดินทางไปสักการะและเที่ยวชมเป็นอันมาก  เพราะตัววัดตั้งอยู่บนหน้าผาสูงชันที่กลมกลืนกับธรรมชาติบริเวณภูเขาตัดกับขอบฟ้า  ทำให้ตัวอาคารมองดูเด่นสง่า ที่ประกอบด้วยหลังคาลดหลั่นกันที่เรียกว่า ไห่เทียนกั๋ว  ภายในอาคารแต่ละหลังมีห้องโถงต่างๆ  เช่น ห้องประดิษฐานพระโจวสู่กง พระกวนอิม ห้องรับรอง หอสวดมนต์ นั่งสมาธิ  และห้องเล็กห้องน้อยกว่า ๙๙ ห้อง

 

        บริเวณภายนอกตั้งแต่ซุ้มประตูทางเข้าซึ่งเพิ่งก่อสร้าง เป็นประตูสามช่องทางขนาดใหญ่  จนถึงหมู่อาคาร  มีแง่หิน สระน้ำฝางเจียนทรงสี่เหลี่ยม อยู่ด้านหน้า 

 

        คุ้ยเทียนกู๋จ้าง 窥天古樟 ต้นการบูรขนาดใหญ่อายุหลายร้อยปี  ตรงกลางมีโพรงไม่มียอด  สูงประมาณ ๑๐ เมตรกว้างประมาณ ๖  เมตร  ภายในโพรงกว้างประมาณ ๑.๘๖ เมตรพอที่คนหลายคนเข้าไปนั่งเหยียดขาได้สบาย  เมื่อมองทะลุโพรงขึ้นไปบนท้องฟ้า  ยอดปลายโพรงเมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ  จะแตกกิ่งออกมาสองกิ่ง  ชาวบ้านเรียกต้นนี้ว่า คุ้ยเทียน

 

        บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์   อยู่ไม่ห่างจากสระฝางเจียน  มีน้ำไหลตลอดปี  น้ำรสชาติหวาน  ชาวบ้านถือว่าเป็นน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์รักษาโรคได้

 

        เจิ้นข้องถะหรือเจดีย์เจิ้นข้อง 真空塔 เป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อรำลึกถึงพระโจวสู่กงด้านหน้าหลุมศพท่าน ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.   ๑๖๖๔ เป็นเจดีย์สูงสิบระดับ  ตรงกับรัชสมัยฮ่องเต้ฮุยจง ( จ้าวจี๋ ) ภายหลังจากที่ท่านมรณภาพได้ ๒๐ ปี

 

        หลุนยิ่นถาน 纶音坛  หรือ ซือกุ้ย  เป็นแท่นบูชา ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.  ๑๘๖๐  ตรงกับรัชสมัยฮ่องเต้เหยินจง ในปีเจี้ยนอิ้วที่ ๔ แห่งราชวงศ์หยวน

 

        ต้นการบูรขนาดใหญ่  กล่าวกันว่า  พระโจวสู่กง เป็นผู้ปลูกไว้  ปัจจุบันสูงประมาณ  ๓๒ เมตร วัดโดยรอบได้    เมตร  ที่น่าประหลาดก็คือยอดต้นการบูรต้นนี้ปลายชี้ไปทางทิศเหนือตลอดเวลา

 

        ต้นโปรโดคาร์ปัส  เป็นต้นไม้จีนชนิดพุ่มที่เป็นไม้หายาก ใบเล็กเรียวยาวใบแข็งมีลูก  ปัจจุบันนิยมทำไม้แคระหรือไม้พุ่ม  แต่ต้นนี้ปลูกไว้แต่สมัยพระโจวสู่กง  สูงประมาณ  ๑๓ เมตร วัดโดยรอบได้  ๑.๓๕ เมตร  กล่าวกันว่าปีหนึ่งสูงประมาณ ๓ ฉุ่น  แต่เมื่อฟ้าร้องฟ้าแลบ  จะลดลงเหลือ ๓ เซนติเมตรเท่านั้น 

 

        คอสิงโต 狮喉  บริเวณหลังวัดเฉ่งจุ้ยโจวซือ มีก้อนหินขนาดใหญ่คล้ายหัวสิงโต  ใกล้ๆกันมีรูคล้ายปากสิงโตอ้าออกซึ่งสามารถที่จะให้คนสิบคนเข้าไปยืนได้  ลึกเข้าไปมีรูคล้ายลำคอสิงโตประมาณ ๒ เชียะ  ในฤดูใบไม้ผลิจะมีเสียงลมพัดผ่านออกมาคล้ายเสียงสิงโตคำราม  กล่าวกันว่ารูถ้ำนี้สามารถเดินไปถึงเมืองเฉวียนโจวได้

 

        ในแถบมณฑลฝูเจี้ยนหรือ ฮกเกี้ยน  กว่างตง  กว่างซี  ชาวจีนส่วนใหญ่จะเคารพนับถือเทพเจ้าอยู่ ๕ องค์ คือ

 

๑.   เป๋าเชิงต้าตี้  หรือ ซีจี้กง  แถบเมืองไป่เจี่ยว ใกล้เซี่ยเหมิน

 

๒.   พระชิงสุ่ยจวี่ซือ  หรือ เฉินผูชวี  ที่วัดเฉ่งจุ้ยโจวซือ  ตำบลเผิงไหล ที่อำเภออันซี

 

๓.  กัวเชิงหวาง  หรือ กวงเจ๋อจวินหวาง  ที่เว่ยเจินเหมียวหรือกัวซานหรือเฟิงซานซือ ที่ซื่อซาน ต้นแม่น้ำแถบอันซี หยองฉ้วนและหนานอัน

 

๔.   เจ้าแม่มาจู่ หรือ มาจอโป๋  จากเกาะเหมยโจว

 

๕. ฉีเทียนต้าเฉิง หรือ ซุนอู้กง หรือเฮ่งเจีย  ที่ตำบลแถบภูเขาและภาคกลางของฝูเจี้ยน

 

        ในไต้หวันมีศาลเจ้าโจวสู่กงที่สำคัญคือ  ศาลเจ้าชิงสุ่ยจวี่ซือที่ว่านหัว ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๐  ถนนคางติง อำเภอว่านหัว ไทเป  อีกแห่งที่ซานเซี่ย ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๒ เพื่อเป็นสิ่งยึดเหยี่ยวแก่ชาวอันซีที่อพยพมาอยู่เขตซานเซี่ยในไต้หวัน  เมื่อ ถึงวันแซยิดของพระโจวสู่กง คือ วันที่ ๖ ค่ำ เดือน ๑ ตามปฏิทินจีน พวกชาวบ้าน ๗ แซ่สกุลจากสี่ตำบล คือ ซานเซี่ย อิงเก๋อ ตู้เฉิงและต้าซี  ต่างมาร่วมจัดงานระลึกถึงท่าน  ศาลเจ้าโจวสู่กงที่มาเลเซียตั้งอยู่บริเวณเกนติ้งไฮแลนด์ เรียกว่า วัดถ้ำชินสวี

 

         ศาลเจ้าโจวสู่กงที่ปัตตานีเดิมเป็นศาลเจ้าปุนเถ่ากงสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๑๗  ต่อมาได้นำพระโจวสู่กงมาประดิษฐาน ขาวบ้านจึงเรียกว่า ศาลเจ้าโจวสู่กง  ได้มีการบูรณะใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๗  เรียกว่า ศาลเจ้าเล่งจูเกียง

 

         ศาลเจ้าโจวสู่กงที่ภูเก็ตมี ๔ แห่ง  ศาลเจ้าโจวสู่กงบ้านระเงงหรือนาคา  หรือ

 

        ฮุนจองอ้าม  ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.  ๒๔๕๐  ได้ฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปีไปแล้ว  ศาลเจ้าโจวสู่กงบ้านทุ่งคาเนียงแตก สามกอง      โดยได้รับความช่วยเหลือจากศาลเจ้ากะทู้ในช่วงแรก  ศาลเจ้าฮกหงวนกง   ตั้งอยู่บริเวณวงเวียนหอนาฬิกา ตลาดเมืองภูเก็ต และศาลเจ้าซุ่ยบุ่นต๋อง ซอยหล่อโรง ถนนระนอง

 

        ตามศาลเจ้าจีนในภูเก็ตหลายแห่งจะมีองค์พระโจวสู่กงประดิษฐานอยู่รวมกับเทพเจ้าองค์อื่นๆเช่นกัน

พระโจวสู่กงกับ พระตักม้อโจวซือ

 

        บางท่านเข้าใจว่า พระโจวสู่กงกับพระตักม้อโจวซือเป็นองค์เดียวกัน  เพราะพระโจวสู่กง บางคนเรียก ตัวจ้อ หรือ อิดจ้อ แปลว่า องค์แรก  ซึ่งตรงกับการเรียกขาน พระตักม้อโจวซือ ที่เรียก อิดจ้อ  ศาล เจ้าบางแห่งในภูเก็ตจึงนำเอาพระโจวสู่กงไปวางไว้เป็นตัวจ้อ องค์แรก แล้วต่อด้วยหยี่จ้อ องค์ที่สอง ซึ่งต้องเรียงไปจนถึงหลักจ้อคือ องค์ที่หก

 

        แต่จากการศึกษาชีวประวัติของทั้งสององค์ ต่างมีที่มาไม่เหมือนกัน ชีวประวัติของพระโจวสู่กงท่านมีชื่อเดิม สถานที่ถือกำเนิดชัดเจน  เพียงแต่มีผิวดำคล้ายพระตักม้อซึ่งเป็นชาวอินเดีย  ซึ่งท่านเดินทางเรือจากอินเดียใต้ถึงกว่างโจว มณฑลกว่างตง เมื่อ พ.ศ. ๑๐๗๐ วันที่ ๒๑ ค่ำ เดือน ๙ ตามปฏิทินจีน  เข้าเฝ้าฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ ( เซียวเอี่ยน )  แห่งราชวงศ์เหลียงที่เมืองนานกิง ซึ่งพระองค์ทรงนับถือพระพุทธศาสนา แต่จากการสนทนาธรรมกับพระองค์ ทรงไม่เข้าใจในบทสนทนาจึงไม่โปรดฯ  พระตักม้อจึงเดินทางไปพำนักที่วัดเส้าหลิน เมืองลั่วหยาง นั่งสมาธิหันหน้าเข้าผนังหินถึงเก้าปีจึงได้สำเร็จมรรคผล  แล้ว จึงเผยแผ่ธรรมะไปทั่วประเทศ จีนถือว่าท่านเป็นพระมหาสมณะองค์แรกหรือสังฆปรินายกองค์แรก เรียกว่า อิดจ้อ หรือ อิดโจ้ว หรือ ตักม้อโจวซือ หรือ พระอิดโจ้วตักม้อไต้ซือ หรือ พระโพธิธรรมมหาครูบา  ท่านจึงมิใช่โจวซือกง และเวลาของทั้งสององค์ก็ต่างกันกว่าห้าร้อยปี

 

         พระเฉ่งจุ้ยโจวสู่กง  จึงเป็นพระสงฆ์ทางพระพุทธศาสนาที่คนจีนถือเป็นเทพเจ้าและให้ความเคารพนับถือตลอดจนการขอยารักษาโรคภัยไข้เจ็บมาแต่โบราณ  จนถึงปัจจุบัน  เมื่อถึงวันแซยิด  คือ วันที่ ๖  ค่ำ เดือน ๑  หรือบางแห่งถือเอาวันที่ ๖ ค่ำ เดือน ๖ ตามปฏิทินจีน  ผู้ที่เคารพนับถือต่างไปสักการะกราบไหว้เป็นประจำทุกปี

 

 

 

        :  ผศ. สมบูรณ์ แก่นตะเคียน    ๑๙  กรกฎาคม  ๒๕๕๐

 

        :   清水祖師公   Qingshui Zushi Gong

 

        :    Somboon  Kantakian

 

 

 

        :    Rev. ed.  July 21, 2010.

 

 

  

       

 

 

 

        :  

 

 

 

 ภาพประกอบวัดเผิงไหล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

******

 

 

 

     

 

 

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน