Bookmark and Share Add to Favorites  
สมาชิกเข้าสู่ระบบ
User Name:
Password:
จำการล็อกอินของฉันไว้
ลืมรหัสผ่าน | สมัครสมาชิก
ลืมรหัสผ่าน
ใสอีเมล์ที่ลงทะเบียนไว้กับเรา
จีนศึกษา
  CHINESE TEXT PROJECT
  STANDARD CHINESE
  เส้นสายลายอักษร
  ลัทธิเต๋า
  รวมเรื่องจีนศึกษา-China Knowledge
  วัฒนธรรมศึกษาจากเว็บต่างๆ
  วัฒนธรรมศึกษาจากภาพ
  พระบรมฉายาลักษณ์ของฮ่องเต้
  มังกรจีนสมัยโบราณ
  มังกรจีนศึกษา
  เลือกเพศให้ลูก
  จีนโบราณจาก บริทิชมิวเซียม
  การเดินทางไกลของเหมาเจ๋อตุง
  จีนในปัจจุบัน
แซ่สกุล
  แซ่ตระกูลที่ใช้กันมาก
  ข้อมูลตระกูลแซ่ต่างๆ
  ประวัติบางแซ่สกุล
  200 แซ่สกุลที่ใช้มาก
  ตระกูลแซ่หลิน
มหาวิทยาลัยชั้นนำ
  BEIJING UNIVERCITY
  Shanghai Jiao Tong University
  Tsinghua University
  Xi'an Jiaotong University
  The Chinese University of Hong Kong
  The University of Hong Kong
  The Hong Kong University of Science and Technology
  Southeast University
  East China Normal University
  Tongji University
  Huazhong University of Science and Technology
  The Hong Kong Polytechnic University
  Tianjin University
  City University of Hong Kong
  Harbin Institute of Technology
  Wuhan University
  China Agricultural University
  Renmin University of China
  Xiamen University
  Fudan University
  Hong Kong Baptist University
  Shandong University
  Nanjing University
  University of Science and Technology of China
  Zhe Jiang University
พิพิธภัณฑ์และหอสมุด
  NATIONAL LIBRARY OF CHINA
  CHINA'S MUSEUMS
  GREAT WALL OF CHINA
  SACRED MOUNTAINS OF CHINA
หนังสือพิมพ์
  ซินหัวไทย
  People's Daily
  Xinhua
  China Daily
  China News
  China .com.cn
  China Youth Daily
เจ - มังสวิรัติ - VEGETARIAN
  เจ-อิ่มบุญ
  พลังบุญ
  เมนูอาหารเจ
  เจทิพย์
  อาหารมังสวิรัติ
  International Vegetarian Union (IVU)
  The Veggie Hub
  Vegetarianism
  A Guide to Vetetarian
  simple-veganista.com/all-recipes
เว็บเครือสมบูรณ์
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
  ตระกูลแซ่หลิน
  ภูเก็ตสารสนเทศ
  สมบูรณ์แก่นโน้ต

ซินซกโป้ 秦叔寶

 

 

        บานประตูตามศาลเจ้าจีนต่างๆ เราจะเห็นเทพเจ้าประจำประตูทั้งสองบาน ด้านซ้ายเป็นรูปนายพลทหารหน้าดำคือนายพลอวยชีจงหรือเว่ยชิกง 尉遲恭 หรือเว่ยชิเจี้ยงเต๋อ 尉遲敬德 ส่วนด้านขวามือเป็นนายพลทหารหน้าสีชมพู คือนายพลซินซกโป้ หรือ ฉินซุเป๋า 秦叔寶  ทั้งสององค์ต่างถืออาวุธประจำกาย คือ เว่ยชิเจี้ยงเต๋อถือกระบองเหล็กหนึ่งอันหนักประมาณ ๗๒ กิโลกรัม ส่วนฉินซุเป๋าถือกระบองทองแดงคู่หนึ่งหนักประมาณ ๗๗ กิโลกรัม

      ซินซกโป้ หรือ ฉินซุเป๋า 秦叔寶 เป็นคนสกุลแซ่ฉิน เป็นครอบครัวที่รับราชการทหาร บิดาชื่อ ฉินอี้ หรือ ซินอี๋ มารดาชื่อ หลงซื่อฮูหยิน  ปู่ชื่อ ฉินอวี้หรือซินหยก ซินซกโป้ถือกำเนิดเมื่อพ.ศ. ๑๑๑๗ บริเวณเขตเมืองเซี่ยโจว  เขตจีหนาน หรืออำเภอหลี่เฉิง มณฑลซานตงในปัจจุบัน ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าโฮ่วจู่ ( ก๊าวเหว่ย ) ในปีรัชกาลอู่ผิงที่ ๔ แห่งราชวงศ์เป่ยฉี ซึ่งมีเมืองเซี่ยโจวเป็นเมืองหลวง ครอบครัวเรียกเขาว่า ไท่เผงหนึง

           บิดาได้รับคำสั่งให้ไปรักษาเมืองกิโจว ขณะที่ฉินฉวนอายุได้ ๓ ขวบ บิดาจึงย้ายครอบครัวไปประจำเมืองกิโจว

            ตามประวัติศาสตร์จีน หลังจากอาณาจักรจิ้นตะวันออกเมืองหลวงตั้งอยู่ที่เจี้ยนคังหรือนานกิงล่มสลายแล้ว เกิดอาณาจักรเหนือและอาณาจักรใต้ขึ้น อาณาจักรเหนือหรือราชวงศ์เหนือ ครั้งแรกมีราชวงศ์เว่ยตะวันตกและราชวงศ์เว่ยตะวันออก ต่อมาเปลี่ยนเป็นราชวงศ์ฉีเหนือหรือเป่ยฉี และโจวเหนือหรือเป่ยโจว ไม่นานกองทัพราชวงศ์โจวเหนือ ยกเข้าตีอาณาจักรฉีเหนือแตกสลายในปีพ.ศ. ๑๑๒๒ นายพลเอี๋ยงเจียนเข้ายึดอำนาจโจวเหนือ แล้วตั้งตนเป็นฮ่องเต้สุยเหวินตี้ ปฐมราชวงศ์สุย เมื่อพ.ศ. ๑๑๒๔ เมืองหลวงตั้งที่ฉางอาน

        อาณาจักรฉีเหนือล่มสลายในปีพ.ศ. ๑๑๒๒ เป็นสมัยฟ่านเอี๋ยงหวาง ( ก๊าวซ่าวอี้ ) เป็นกษัตริย์ เมื่อกองทัพโจวเหนือยกเข้าตีเมืองหน้าด่านเซี่ยวโจวแตก ซึ่งมีฉินอวี้หรือซินหยกเป็นนายทหารเอกประจำด่าน เขาถูกฆ่าตายที่ด่าน ฟ่านเอี๋ยงหวางซึ่งยกทัพไปช่วยที่ด่าน จึงเสด็จหนีเข้าเมืองกิโจวซึ่งมีฉินอี้เป็นนายทหารประจำเมือง กองทัพโจวเหนือยกเข้าตีเมืองกิโจว แต่ฟ่านเอี๋ยงหวางกลับหนีต่อไปยังเมืองหุนโจว ในขณะที่ ฉินอี้หรือซินอี๋ เป็นนายทหารเอกกำลังรบติดพันกับข้าศึก และถูกฆ่าตายในสนามรบ

          เมื่อสิ้นบิดาในช่วงนั้นข้าศึกเข้าเมืองได้ มารดาจึงพาบุตรหนีไปพึ่งพาอาศัยอยู่กับครอบครัว แซ่จาง มารดาจึงสอนหนังสือให้จนอายุได้ ๑๒ - ๑๓ ปี จึงให้ไปเรียนวิชาการวิทยายุทธ โดยมีกระบองทองแดงคู่หนึ่งหนักประมาณ ๗๗ กิโลกรัมของบิดาเป็นอาวุธประจำกาย กับบุตรชายแซ่จางอายุ ๑๐ ปี เรียกชื่อเล่นว่า เทียอิดหนึง  ข้างครูผู้สอนจึงตั้งชื่อให้ไท่เผงหนึงใหม่ว่า ฉอง หรือฉวน เป็น ฉินฉวน หรือ ฉินฉอง 秦瓊 ฉายาว่า ซุเป๋า หรือ ซกโป้ 叔寶 ได้เรียนวิชาเพลงอาวุธฝึกหัดจนชำนาญ โดยเฉพาะเพลงกระบอง การยิงเกาทัณฑ์ เพลงทวน เป็นอาวุธหลัก แต่ที่เก่งกาจคือ เพลงกระบองที่ไม่มีใครสู้ได้

        ฝ่ายในเมืองหลวงฉางอานในปีพ.ศ. ๑๑๓๔ เกิดการผลัดแผ่นดิน เป็นฮ่องเต้สุยเหวินตี้ปฐมราชวงศ์สุย ขณะนั้นฉินฉวนอายุได้ ๑๗ ปี  เมื่ออายุพอสมควรฉินฉวนจึงแต่งงาน ภรรยาชื่อนางเตียวซื่อ มีบุตรชายที่ทราบชื่อคือ ซินอวยเง็ก 魚玉  มีเพื่อนหลายคน  มารดาเคี่ยวเข็ญให้ไปรับราชการทหาร ตามที่ทางการประกาศรับสมัคร แต่เขาไม่ชอบด้วยปู่และบิดาตายในสงคราม เขามองไม่เห็นจะมีอะไรดีจากการรับราชการ เพราะเขาได้รับความลำบากมาแต่เล็กตั้งแต่อายุ ๕ ขวบ ที่บ้านแตกด้วยสงคราม แต่ขัดมารดาไม่ได้จึงไปสมัครเป็นทหาร ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายร้อยกองปราบโจรที่เมืองเซี่ย ประมาณ พ.ศ. ๑๑๔๒ เมื่ออายุได้ ๒๕ ปี สมัยราชวงศ์สุย

        ฝ่ายข้างเมืองหลวง ฮ่องเต้สุยเหวินตี้ทรงพระสุบินว่า เมืองหลวงถูกน้ำท่วมจนถึงกำแพงมีต้นไม้ใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง น้ำไหลบ่าเข้าหาพระองค์จนตกพระทัยตื่นบรรทม ทรงคิดว่า เมืองหลวงอยู่ที่ดอนยากที่น้ำจะท่วม จึงรับสั่งให้มีหนังสือไปกวดขันหัวเมืองให้ระวังน้ำท่วม แต่ฉุกคิดขึ้นได้ว่า อาจเป็นพวกขุนนางที่ชื่อและแซ่สกุลที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับน้ำก่อการขึ้นก็เป็นได้ พวกแซ่หลี่ซึ่งรับราชการเป็นจำนวนมากจึงเดือดร้อน ต่างพากันลาออกจากราชการหลบลี้หนีไปอยู่ที่อื่นพร้อมเปลี่ยนแซ่เปลี่ยนชื่อ บางคนรับสั่งให้ประหาร แต่ยกเว้น หลี่เอียนเป็นที่ถังกง ด้วยทรงเห็นว่าเป็นผู้ที่ซื่อสัตย์ วันหนึ่งหลี่เอียนกราบทูลเรื่อง การลงโทษพระราชบุตรเป็นที่องค์รัชทายาทถูกปลดจากตำแหน่ง ทำให้รัชทายาทองค์ใหม่ไม่พอใจ วางแผนฆ่าถังกง บังเอิญถังกงได้รับคำสั่งให้ไปเป็นข้าหลวงเมืองไท่หยวน มณฑลซานซี ในปีพ.ศ. ๑๑๔๔ เป็นโอกาสให้องค์ชายวางแผนฆ่าถังกง ด้วยการสั่งคนใกล้ชิดเอาทหารที่มีฝีมือแต่งตัวเป็นกองโจรฆ่าเสียทั้งครอบครัว

        เมื่อได้รับคำสั่ง ถังกงหลี่เอียนจึงรีบยกครอบครัว เดินทางไปเมืองไท่หยวน ตอนนั้นภรรยากำลังมีครรภ์ครบกำหนดคลอด จึงขอให้คลอดเสียก่อน หลี่เอียนบอกถึงภัยกำลังมาถึงตนและครอบครัวรอไม่ได้

        ฝ่ายฉินฉวน ขณะนั้นอายุได้ ๒๘ ปี ได้รับคำสั่งให้คุมคนโทษไปส่งเมืองเล่าโจว ซึ่งขึ้นตรงต่อเมืองไท่หยวน เดินทางผ่านมาทางนั้นพร้อมเพื่อนนายทหารชื่อ ห้วยเกียนอุยหรือฟ่านเจี้ยนเว่ย เขาจึงให้เพื่อนคุมคนโทษแล้วจึงรีบเข้าไปช่วยตีพวกโจรแตกกระจาย แต่มีอีกกลุ่มหนึ่งที่กำลังล้อมกรอบหลี่เอียนที่สู้จนหมดแรง จวนเจียนจะเสียที ฉินฉวนจึงควบม้าเข้าไปตีพวกโจรจนถอยหนีไป เมื่อเขาทราบเรื่องราวทั้งหมดจึงรีบขึ้นม้าไปเสีย หลี่เอียนรีบขี่ม้าตามไปเพื่อขอบคุณ แต่ม้าของฉินฉวนเร็วกว่าเขาตามไม่ทัน ถังกงตะโกนถามชื่อ เขาจึงบอกชื่อแซ่และโบกมือห้ามอย่าตามมา ถังกงคิดว่าเขายกมือคือแซ่หงอ เขาจึงเรียกอู่ฉวน ครอบครัวถังกงจึงเดินทางมาระยะหนึ่งถึงวัดเข้าพักที่วัด ภรรยาจึงคลอดบุตร คือ หลี่ซื่อหมิน

        เมื่อถังกงไปถึงเมืองไท่หยวนแล้วไม่นาน จึงให้บุตรเขยกลับมาบูรณะวัดดังกล่าว พร้อมสร้างศาลาปั้นรูปนายทหารด้านหน้ามีคนใช้ถือกระบองคู่หนึ่ง อีกด้านเป็นรูปม้าไว้ด้วย หน้าศาลาเขียนว่า แด่ผู้มีคุณ พร้อมเขียนชื่อว่า อู่ฉวน

        ฝ่ายในพระราชสำนักสุย เกิดผลัดเปลี่ยนแผ่นดินใหม่เป็นฮ่องเต้สุยเอี๋ยงตี้ ( เอี๋ยงก่วง ) ในปีพ.ศ. ๑๑๔๘  เมื่อฉินฉวนอายุได้ ๓๑ ปี  เขาอยู่ใต้บังคับบัญชาของนายพลไหลฮู้เอ๋อ นายพลท่านนี้ได้ช่วยเหลือฉินฉวนมาก เมื่อเกิดกรณีฆ่าคนตายขึ้น ฉินฉวนจึงถูกเกณฑ์ให้คุมทหาร ๕๐๐ คนไปช่วยขุดคลองแถบเมืองซุยเอี๋ยง แต่เขาไปขัดขวางผลประโยชน์ส่วนตนของผู้บัญชาการขุดคลองคือ นายพลมั่วซกหมง จึงถูกปลดออกจากราชการ เขาจึงเดินทางกลับบ้าน เมื่อมาถึงบ้านจึงอพยพครอบครัวพร้อมมารดาออกไปอยู่นอกกำแพงเมืองหลวง

        ฝ่ายนายพลไหลฮู้เอ๋อ ได้รับคำสั่งให้เตรียมกองทัพไปตีเมืองเกาหลี เขาไม่เห็นใครเป็นแม่ทัพหน้าได้ดีกว่าฉินฉวน แต่ตอนนั้นเขาไม่ได้รับราชการแล้ว นายพลจึงมีหนังสือไปยังข้าหลวงให้ไปอ้อนวอนเขาให้รับหน้าที่ เขาไม่รับ แต่ฝ่ายมารดาเห็นว่า ถ้ารอดตายกลับมาจากกองทัพ ครอบครัวก็จะสุขสบายขึ้นจึงขอให้เขาไปกองทัพ  เขารับคำแล้วเดินทางไปหานายพลยกทัพไปตีเกาหลีได้สองเมือง จนนายพลได้รับความชอบเป็นก๊กกง ส่วนฉินฉวนได้รับตำแหน่งนายพลทหารเป็น อันเอี๋ยงเจียงจวิน安陽将军 อย่างไรก็ตามการทัพยังไม่ทันเสร็จสิ้น เกิดการฆ่าพยาบาทกันขึ้นระหว่างแม่ทัพโอบุนสุดกับฉินฉวน ด้วยการเอาเรื่องส่วนตัวมาปะปนกับงานด้วยการลวงฉินฉวนไปฆ่าที่ค่ายแต่ไหลก๊กกงไปช่วยไว้ทัน เมื่อกองทัพของโอบุนสุดแพ้หนีกลับ ฮ่องเต้รับสั่งให้สอบสวนแล้วปลดออกจากราชการ เมื่อยกทัพกลับ ฉินฉวนไม่อยากรับราชการจึงลากลับบ้าน ไหลก๊กกง จึงแต่งตั้งให้เป็น เต้าอวยพร้อมเงินรางวัลอีกเป็นจำนวนมาก ฉินฉวนจึงกลับไปอยู่เมืองอันโจว

         แต่พอถึงปลายสมัยราชวงศ์สุย เขาอยู่ใต้บังคับบัญชาของนายพลจางชวี่ตั้ว เหตุการณ์บ้านเมืองช่วงนั้นเกิดสู้รบกันด้วยหลายก๊กใหญ่ซึ่งมีถึง ๑๘ ก๊ก รวมทั้งหลี่เอียนตั้งตนเป็นถังเอียนอ๋อง แล้วค่อยๆทะยอยล่มสลายด้วยสู้ก๊กใหญ่ที่มีกำลังทหารกล้าแข็งไม่ได้

        พ.ศ. ๑๑๕๗ ฉินฉวนอยู่ในกองทัพของนายพลจางชวี่ตั้วซึ่งมีทหารแค่สองหมื่นคน แต่กองทัพข้าศึกมีนายพลหลูมิ่งเอ้วเป็นแม่ทัพมีทหารแสนคน เมื่อฮ่องเต้สุยเอี๋ยงตี้มีรับสั่งให้ไปปราบ เกิดสู้รบกันจนนายพลจางตายในสนามรบ ฉินฉวนจึงรับหน้าที่บังคับบัญชากองทัพแทน

        ปีพ.ศ. ๑๑๕๙ เมื่อเขาอายุได้ ๔๑ ปี ได้อยู่ใต้บังคับบัญชาของนายพลเผยเหยินจี๊    และพ.ศ. ๑๑๖๐ อยู่ใต้บังคับบัญชาของ

หลี่มี่ ข้างหลี่มี่ให้ทหารจำนวน ๘๐๐๐ นายแก่ฉินฉวนกับเฉิงจื่อจิ่วไปสู้รบกับทัพข้าศึกเป็นแสนคน ซึ่งเขาก็ต้องจำยอมเพราะไม่มีทางเลือก เมื่อผู้บัญชาการทัพสั่ง  วันหนึ่งหลี่ซื่อหมินโอรสถังกงหลี่เอียนอ๋องขณะยกทัพไปตีกองทัพของหวางซื่อชง ในช่วงพักการทัพ เขาอยากไปล่าสัตว์แต่นายทหารต่างห้ามปราม เขาไม่เชื่อ เขาหลงเข้าไปในเขตของหลี่มี่มีเพียงทหารติดตามคนเดียวคือหม่าซำเปา ขณะนั้นฉินฉวนกับเทียกากิมเห็นจึงเข้ารบกับหลี่ซื่อหมิน เขาสู้ไม่ได้จึงหนีเข้าไปซ่อนตัวอยู่ในศาลเจ้าร้างชื่อเล่ากวนตง ฉินฉวนกับเทียกากิมจึงติดตามเข้าไป เทียกากิมเห็นงูเหลือมตัวโตอยู่ในศาลเจ้าที่ผ้าม่านจึงเอาขวานจะฟัน ฉินฉวนจึงเอากระบองรับไว้เพราะใต้งูเหลือมนั้นคือหลี่ซื่อหมินซ่อนตัวอยู่ ที่จริงเทียกากิมไม่รู้จักมังกรคิดว่าเป็นงูเหลือม ฉินฉวนจึงจับหลี่ซื่อหมินเข้าไปในเมืองเข้าเฝ้าหลี่มี่หวาง ทรงให้เอาไปขังคุกไว้พร้อมรับสั่งให้กวดขันเป็นพิเศษ ถังเอียนหวางทรงส่งทูตมาขอหลี่ซื่อหมินหรือซินอ๋อง แต่หลี่มี่ไม่ยอมและจะฆ่าเสีย แต่สวี่เหมากงทูลทัดทาน บังเอิญช่วงนั้นหลี่มี่จำต้องไปปราบก๊กหวางซื่อชง  จึงให้นายทหารสามนายเฝ้าเมืองหลวงคือ สวี่เหมากง งุยเตงหรือเว่ยเจิ้งและฉินฉวน  แต่ฉินฉวน สวี่เหมากง เว่ยเจิ้ง และผู้คุมช่วยกลับปล่อยหลี่ซื่อหมินออกจากคุก ผู้คุมหนีไปกับหลี่ซื่อหมินด้วย จึงเป็นบุญคุณใหญ่หลวงที่หลี่ซื่อหมินคิดที่จะตอบแทนฉินฉวนและพวก

        ปีพ.ศ. ๑๑๖๐ เกิดการเปลี่ยนแผ่นดินในราชวงศ์สุย กองทัพของหลี่มี่ซึ่งมีฉินฉวนเป็นทัพหน้า ได้สู้รบกับกองทัพของหยีเหวินฮั่วจีจนกองทัพข้าศึกพ่ายแพ้หนีขึ้นไปทางเหนือ  ในปีเดียวกันนี้กองทัพของหลี่มี่สู้รบกับกองทัพของหวางซื่อชงอีกก๊กหนึ่ง ฉินฉวนกับเฉิงจื่อจิ่วถูกจับได้ เขาจึงยอมอยู่กับกองทัพของหวางซื่อชงซึ่งหวางไม่ได้ไว้ใจพวกขา

        ในปีพ.ศ. ๑๑๖๑ กองทัพของหลี่ซื่อหมิน ยกเข้าตีกองทัพของหวางซื่อชง หลี่ซื่อหมินเห็นการสู้รบของนายทหารฝีมือดีของหวางหลายคน ตนอยากได้จึงกล่อมให้ไปอยู่ด้วยได้แก่ ฉินฉวน เฉิงจื่อจิ่ว อู่เหยต้า หนิ่วจินต้า ซึ่งพวกเขาก็ยอม ในปีเดียวกันนี้หลี่มี่สิ้นพระชนม์ บรรดาลูกน้องของเขาที่มีกำลังกล้าแกร่งต่างเข้าไปรวมอยู่กับกองทัพหลี่ซื่อหมิน ในขณะเดียวกัน ถังเอียนอ๋องยกตนเป็นฮ่องเต้ถังเกาจู่ปฐมราชวงศ์ถัง ฮ่องเต้จึงรับสั่งให้คนทั้งสี่ สังกัดกองทัพของหลี่ซื่อหมินโอรส พร้อมทรงแต่งตั้งให้ฉินฉวนเป็นนายพลทหารยศ โย่วเปียนเว่ยไต้เจียงจวิน 右边伟大将军 นายพลทหารใหญ่ฝ่ายขวา สาเหตุที่บรรดานายพลทหารเก่งกล้า เปลี่ยนเจ้านายบ่อยเพราะต่างคนต่างแสวงหาเจ้านาย ที่พวกตนคิดว่าจะพึ่งพาอาศัยได้ในอนาคต บ้านเมืองจะเป็นปึกแผ่นมั่นคง จึงมีก๊กต่างๆให้เลือกอยู่จนกว่าจะลงตัวเหลือแผ่นดินเจ้าของเดียว และจะซื่อสัตย์ต่อเจ้านายองค์นั้นจนตัวตาย

        พ.ศ. ๑๑๖๓ ช่วงปีใหม่ นายพลหลิวอู่โจวก่อการขึ้นบริเวณมณฑลซานซีอันเป็นเขตแดนของราชวงศ์ถัง ฮ่องเต้ถังเกาจู่จึงรับสั่งให้หลี่ซื่อหมินยกทัพไปปราบ ฉินฉวนกับยิ่นไค้เซิ้น เข้าสู้รบกับนายทหารชื่อ เว่ยชิเจี้ยงเต๋อหรืออวยชีจงที่แม่น้ำเหมยเหลียง ของกองทัพหลิว ฝ่ายหลี่ซื่อหมินเห็นความกล้าหาญเก่งกล้าของนายพลเว่ยชิ ก็อยากได้มาเป็นกำลังฝ่ายตน จึงทำการเกลี้ยกล่อมให้มาอยู่ด้วย แต่เว่ยชิปฏิเสธด้วยตนสังกัดกองทัพหลิวฝ่ายตรงกันข้าม หากนายพลหลิวตายเมื่อไรเขาจึงจะมาอยู่ด้วย เมื่อนายพลหลิวถูกฆ่าตาย เว่ยชิจึงยกกองทหารของตนเข้ามาสังกัดกับหลี่ซื่อหมิน เมื่อกองทัพหลี่ซื่อหมินได้รับชัยชนะ ฮ่องเต้ถังเกาจู่ได้พระราชทานทองคำและผ้าไหมแก่ฉินฉวนเป็นจำนวนมาก

        ฝ่ายหวางซื่อชง ในฐานะก๊กใหญ่ก๊กหนึ่ง จึงตั้งตนเป็นฮ่องเต้แห่งอาณาจักรเจิ้ง  ทางราชสำนักถังจึงรับสั่งให้หลี่ซื่อ

หมินยกไปปราบอาณาจักรเจิ้ง หลี่ซื่อหมินจึงเตรียมกองพลทหารเก่งกล้าจำนวน ๑๐๐๐ นาย สวมชุดดำถืออาวุธสีดำหมดทุกนาย  โดยมี ฉินฉวน เฉิงจื่อจิ่ว เว่ยชิเจี้ยงเต๋อ และคนอื่นๆ แล้วยกทัพไปปราบอาณาจักรเจิ้ง

        ฉินฉวนได้ติดตามกองทัพของหลี่ซื่อหมินตลอดเวลา เมื่อ

หลี่ซื่อหมินให้ออกไปรบทุกคราวมีชัยชนะแทบทุกครั้ง หลี่ซื่อหมินเชื่อในฝีมือและมีความประทับใจในการต่อสู้ของเขา ทำให้เขาได้รับรางวัลเป็นจำนวนมาก เขาเองก็ภาคภูมิใจที่ได้รับชัยชนะมาแทบตลอด

        ในปีพ.ศ. ๑๑๖๙ เมื่อฉินฉวนอายุได้ ๕๑ ปี ขณะนั้นภายในราชสำนักถัง เมื่อพี่น้องเกิดการแย่งกันครองราชบัลลังก์ โดยมีองค์ชายหลี่เจี้ยนเฉิง ซึ่งเป็นองค์รัชทายาทและเป็นพี่ขององค์ชายหลี่ซื่อหมิน องค์ชายหลี่หยวนจีซึ่งเป็นน้องของหลี่ซื่อหมิน ทั้งพี่และน้องชายต่างร่วมมือกันคิดฆ่าหลี่ซื่อหมิน หลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ ด้วยกลัวว่าหลี่ซื่อหมินจะชิงบัลลังก์ เพราะเขามีนายทหารที่แข็งแกร่งเป็นจำนวนมาก และผู้คนให้ความนับถืออยากฝากบ้านเมืองไว้กับเขา อีกประการหนึ่งตลอดเวลาของการสร้างบ้านแปงเมือง หลี่ซื่อหมินออกรบตลอด สามารถปราบก๊กต่างๆได้ราบคาบด้วยกองทหารที่เกรียงไกร เมื่อเขารู้ว่าสองพี่น้องวางแผนฆ่าเขาในวันหนึ่ง เขาจึงชิงจัดการเสียก่อน เกิดการสู้รบนองเลือดกันขึ้นตรงประตูเซวียนอู่ ทางเข้าพระราชวังของฮ่องเต้ถังเกาจู่ พี่น้องทั้งสองถูกฆ่าตาย หลี่ซื่อหมินจึงให้พระราชบิดาตั้งเขาเป็นองค์รัชทายาท อีกสามเดือนต่อมาจึงแต่งตั้งเขาเป็นฮ่องเต้ถังไท่จง

        จากกรณีดังกล่าวทำให้ฮ่องเต้ถังไท่จง ทรงไว้วางพระราชหฤทัยต่อฉินฉวนมาก และได้พระราชทานสมบัติขององค์ชายหลี่หยวนจีให้แก่เขา และพระราชทานบรรดาศักดิ์ในระดับชั้น กง เป็น อู๋จ้วงกง 胡壯公 หรือจ้วงกงแห่งเมืองอู๋ ซึ่งมีครัวเรือนอยู่จำนวน ๗๐๐ ครอบครัวเป็นการเก็บค่าส่วย ทรงยกย่องฉินฉวนเป็นอย่างสูง

        ในปีพ.ศ.  ๑๑๗๙  พระองค์ทรงพระสุบินว่า  ปีศาจพญามังกรศีรษะขาดเข้ามาหลอกหลอนทุกคืน  ไม่สามารถจะบรรทมให้หลับได้  เสนาบดีท่านหนึ่งได้กราบบังคมทูลให้พระองค์ใช้นายทหารที่มีรูปร่างหน้าตาดุน่ากลัว มาเฝ้าหน้าประตูพระตำหนักในเวลากลางคืน  พระองค์ทรงเห็นด้วย  จึงทรงโปรดฯให้ฉินฉวน  กับ เว่ยชิเจี้ยงเต๋อ  แต่งเครื่องแบบชุดนายพลทหารเต็มยศพร้อมอาวุธ ปรากฏว่าผีมังกรศีรษะขาดที่เคยเข้าสุบินก็หายไป  ทรงเห็นว่าจะให้นายพลทั้งสองแต่งชุดนายทหารมาเฝ้าทุกคืน ไม่เหมาะสม  จึงทรงให้จิตรกรประจำราชสำนักวาดรูปนายพลทั้งสองแบบเต็มตัว  แล้วเอาไปปิดไว้ที่บานประตูทั้งสอง  ตำนานเรื่องนี้ยังมีกล่าวพิสดารออกไปอีก เกี่ยวกับมังกรกับฮ่องเต้ถังไท่จง   

             จากตำนานกล่าวว่า ยังมีมังกรตนหนึ่ง อาศัยอยู่ที่แม่น้ำจิงเหอ  แถบมณฑลกานซู่ในปัจจุบัน  เทพมังกรท่านนี้มีเพื่อนอยู่ตนหนึ่ง ชื่อ  หยวนโซ่วเฉิง  ขณะที่ทั้งสองกำลังนั่งคุยกันอยู่นั้น  เทพมังกรบอกว่า  ตนสามารถหยุดฝนได้ถึงหนึ่งชั่วยาม  และสามารถกักน้ำฝนที่จะไม่ให้ตกลงมาได้หนึ่งในสิบส่วน  วันต่อมาเป็นจริงดังที่เขาพูด ฝ่ายเว่ยเจิ้งเสนาบดีฝ่ายกฎหมายประจำราชสำนักถัง  ทราบว่าฝนตกลงมาน้อยด้วยสาเหตุของพญามังกรตนนี้ที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลเรื่องภูมิอากาศ ให้ฝนฟ้าตกตามฤดูกาลและควบคุมปริมาณน้ำฝน  เมื่อเทพมังกรกระทำผิดกฎเช่นนี้  ท่านเว่ยเจิ้งจึงสั่งประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะในเวลาบ่ายสามโมงในอีกสามวันข้างหน้า

           เมื่อเทพมังกรทราบเช่นนั้น  จึงเข้าพระสุบินฮ่องเต้ถังไท่จง  ขอให้ช่วยตนด้วยในฐานะที่เว่ยเจิ้งรับราชการในพระองค์  เพราะเว่ยเจิ้งได้ประกาศประหารชีวิตไปแล้ว  พระองค์จึงทรงรับว่าจะไม่ให้เว่ยเจิ้งประหาร  เมื่อถึงเวลาจะประหาร  พระองค์จึงรับสั่งให้เว่ยเจิ้งมานั่งเล่นหมากรุกกับพระองค์  แต่ปรากฏว่าเว่ยเจิ้งงีบไปหน่อยหนึ่งคาโต๊ะหมากรุก  พระองค์ทรงพอพระทัยที่เขางีบเสียได้  จะได้ไม่ไปประหารพญามังกร ด้วยทรงเข้าใจว่าเมื่อถึงเวลาที่กำหนด เว่ยเจิ้งจะต้องเดินออกจากวังไปจับพญามังกรที่แม่น้ำแล้วฆ่าเสีย

        แต่พอตกดึก  ผีพญามังกรศีรษะขาดมาเข้าพระสุบินทวงศีรษะของตนคืนจากพระองค์  แต่พระองค์ตรัสว่าเวลานั้นเว่ยเจิ้งงีบหลับคาโต๊ะหมากรุก  มิได้ออกไปไหน  แต่ปีศาจพญามังกรศีรษะขาดไม่ยอมรับฟังที่ทรงรับสั่ง และมาเข้าพระสุบินทวงศีรษะของตนทุกคืน  เมื่อเรื่องนี้ทรงตรัสเล่าให้ขุนนางผู้ใหญ่ที่เข้าเฝ้า มีขุนนางผู้หนึ่งคือ เว่ยเจิ้ง กราบทูลว่าให้พระองค์จัดนายพลทหารไปเฝ้าประตูพระตำหนัก ในเวลากลางคืน พระองค์จึงทรงให้นายทหารสองคนคือ ฉินซุเป๋ากับเว่ยชิเจี้ยงเต๋อ  พวกเขาจึงแต่งตัวชุดนายพลเต็มยศถืออาวุธครบมือ มายืนเฝ้าพระทวารพระตำหนักทุกคืน  จนผีมังกรศีรษะขาดไม่มาเข้าฝันอีกเลย จากตำนานดังกล่าวว่า เว่ยเจิ้งเมื่อเวลาตื่นจะปฏิบัติหน้าที่ในเมืองมนุษย์ตลอดเวลา แต่หลับเมื่อไร เขาจะลงไปปฏิบัติหน้าที่เป็นเพชฌฆาตในเมืองนรก 

        ฉินฉวนเคยกล่าวว่า เขาเป็นทหารมาตั้งแต่ยังเป็นเด็กวัยรุ่นจนถึงขณะนี้ ต้องเข้าสู้รบข้าศึกกว่า ๒๐๐ ครั้ง แต่ละครั้งจะถูกอาวุธข้าศึกมีบาดแผลตามตัวเสมอ แบบชีวิตแลกกันด้วยชีวิต เขาจึงควรที่จะได้รับบำเหน็จรางวัลเป็นจำนวนมาก แล้วทำไมเขาจึงจะไม่เจ็บป่วยล่ะ ดังนั้นหลังจากที่องค์ชายหลี่ซื่อหมินครองราชย์แล้วไม่นาน เขาก็เจ็บป่วยบ่อยขึ้น ด้วยร่างกายตรากตรำศึกมามาก

        ในปีพ.ศ. ๑๑๘๑ ฉินฉวนจึงถึงแก่อนิจกรรมด้วยความสงบที่บ้านของเขาในเมืองฉางอาน รวมอายุได้ ๖๔ ปี ศพของเขาฝังไว้ใกล้หลุมพระศพของฮ่องเต้ถังไท่จงในเวลาต่อมา  ในปีพ.ศ. ๑๑๘๖ ฮ่องเต้ถังไท่จงรับสั่งให้วาดรูปนักรบผู้กล้าหาญที่เป็นผู้บุกเบิกให้สามารถตั้งราชวงศ์ถังได้   มีจำนวนทั้งหมด ๒๔ คน ฉินฉวนเป็นหนึ่งใน ๒๔ คนนั้น เพื่อไปติดไว้ที่อาคารศาลาหลิงเอี๋ยนในพระราชวัง

 

 

                 :   สมบูรณ์ แก่นตะเคียน   ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๑

 

Title          :   Qin Shubao

 

                :   Somboon Kantakian

 

Credits      :   Somboon Kantakian

 

     

 

 

        

 

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน