Bookmark and Share Add to Favorites  
สมาชิกเข้าสู่ระบบ
User Name:
Password:
จำการล็อกอินของฉันไว้
ลืมรหัสผ่าน | สมัครสมาชิก
ลืมรหัสผ่าน
ใสอีเมล์ที่ลงทะเบียนไว้กับเรา
จีนศึกษา
  CHINESE TEXT PROJECT
  STANDARD CHINESE
  เส้นสายลายอักษร
  ลัทธิเต๋า
  รวมเรื่องจีนศึกษา-China Knowledge
  วัฒนธรรมศึกษาจากเว็บต่างๆ
  วัฒนธรรมศึกษาจากภาพ
  พระบรมฉายาลักษณ์ของฮ่องเต้
  มังกรจีนสมัยโบราณ
  มังกรจีนศึกษา
  เลือกเพศให้ลูก
  จีนโบราณจาก บริทิชมิวเซียม
  การเดินทางไกลของเหมาเจ๋อตุง
  จีนในปัจจุบัน
แซ่สกุล
  แซ่ตระกูลที่ใช้กันมาก
  ข้อมูลตระกูลแซ่ต่างๆ
  ประวัติบางแซ่สกุล
  200 แซ่สกุลที่ใช้มาก
  ตระกูลแซ่หลิน
มหาวิทยาลัยชั้นนำ
  BEIJING UNIVERCITY
  Shanghai Jiao Tong University
  Tsinghua University
  Xi'an Jiaotong University
  The Chinese University of Hong Kong
  The University of Hong Kong
  The Hong Kong University of Science and Technology
  Southeast University
  East China Normal University
  Tongji University
  Huazhong University of Science and Technology
  The Hong Kong Polytechnic University
  Tianjin University
  City University of Hong Kong
  Harbin Institute of Technology
  Wuhan University
  China Agricultural University
  Renmin University of China
  Xiamen University
  Fudan University
  Hong Kong Baptist University
  Shandong University
  Nanjing University
  University of Science and Technology of China
  Zhe Jiang University
พิพิธภัณฑ์และหอสมุด
  NATIONAL LIBRARY OF CHINA
  CHINA'S MUSEUMS
  GREAT WALL OF CHINA
  SACRED MOUNTAINS OF CHINA
หนังสือพิมพ์
  ซินหัวไทย
  People's Daily
  Xinhua
  China Daily
  China News
  China .com.cn
  China Youth Daily
เจ - มังสวิรัติ - VEGETARIAN
  เจ-อิ่มบุญ
  พลังบุญ
  เมนูอาหารเจ
  เจทิพย์
  อาหารมังสวิรัติ
  International Vegetarian Union (IVU)
  The Veggie Hub
  Vegetarianism
  A Guide to Vetetarian
  simple-veganista.com/all-recipes
เว็บเครือสมบูรณ์
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
  ตระกูลแซ่หลิน
  ภูเก็ตสารสนเทศ
  สมบูรณ์แก่นโน้ต

ขงจื่อ

 

 

 

        ขงจื่อ หรือ ขงจื๊อ หรือ ข่งจื่อ หรือ ข่งฟูจื่อ  孔夫子 หรือ จ้งหนี 仲尼 หรือ เปาเฉิงเซวียนกง 褒成宣尼公 หรือ หนีกง หรือ จื้อเซิ่งเซวียนซือ 至聖先師, 至圣先师 หรือ ว่านซื่อซือเปี่ยว 萬世師表, 万世师表  แต่ชื่อจริงของเขาคือ ข่งชิว 孔丘   ขงจื่อเป็นนักคิด นักปรัชญา เป็นผู้ทรงอิทธิพลในทางความคิดและชีวิต ความเป็นอยู่ตลอดจนประเพณีและวัฒนธรรมของชาวจีน ชาวเกาหลี ชาวญี่ปุ่นและชาวเวียดนามเป็นอย่างมาก 

        ขงจื่อถือกำเนิดเมื่อ ก่อน ค.ศ. ๕๕๑ หรือ  ก่อนพ.ศ. ๘ที่เมืองโจวอี้ (ปัจจุบันคือเมืองฉวีฝู่เคาน์ตี้ ซานตง) อาณาจักรหลู่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลซานตงในปัจจุบัน เป็นช่วงสมัยชุนชิว   ตรงกับรัชสมัยฮ่องเต้โจวหลิงหวาง  ( จีเซ่ยซิน )      แห่งราชวงศ์โจวตะวันออก เมืองหลวงตั้งอยู่ที่ลั่วอี้หรือลั่วหยางในสมัยต่อมา เป็นคนสกุลแซ่ข่งผู้สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าตี้คู่แห่งสมัยซานหวงอู่ตี้ จนถึงพระเจ้าซังทังปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ซัง โดยนำเอาคำว่า จื่อ กับ อี้ มารวมกันเป็น ข่ง จื่ออี้เป็นพระนามของพระเจ้าซังทัง และต่างก็ใช้แซ่ข่งต่อเนื่องถึงบรรพบุรุษของขงจื่อ 

        บิดาขงจื่อแต่งงานเมื่ออายุมากแล้ว แต่ภรรยายังสาวอยู่ ตามตำนานสมัยชุนชิวกล่าวว่า คืนหนึ่งมารดาฝันว่า มีสัตว์ประหลาดตัวหนึ่ง เดินเข้ามาหาพร้อมกับนำเด็กน้อยมาวางไว้ตรงหน้าด้วย นางจึงก้มลงดูเด็กน้อยคนนั้นแล้วตกใจตื่น จึงเล่าให้สามีฟัง ไม่นานนางก็ตั้งครรภ์ เมื่อนางดูรูปเทพสัตว์ต่างๆก็จำได้ว่าเป็นรูป กิเลนหรือฉี่หลิน ตรงกับความฝัน เมื่อนางให้กำเนิดบุตรชาย จึงตั้งชื่อให้ว่า ฉี่หลินจื่อ ซึ่งเป็นชื่อในวัยเด็กของเขา เมื่อฉี่หลินจื่อเจริญวัย มีความเฉลียวฉลาดเป็นเด็กอัจฉริยะคนหนึ่ง มีความจำเป็นเลิศ ชาวบ้านในเมืองนั้นอยากได้บุตรชายที่ฉลาดน่ารักเช่นฉี่หลินจื่อ ต่างก็เขียนรูปกิเลนคู่กับรูปเด็กผู้ชายไว้หรือเขียนรูปกิเลนคาบตะกร้าใส่เด็กผู้ชายมาบูชาขอพร   

        บิดาถึงแก่กรรมเมื่อขงจื่ออายุได้ ๓ ขวบ ภาระหนักจึงตกอยู่กับมารดาที่ต้องเลี้ยงดูบุตรชาย ในช่วงวัยเด็กขงจื่อจึงมีชีวิตที่ลำบาก  แต่ครอบครัวก็อยู่ในฐานะปานกลาง สมัยเป็นเด็กขงจื่อชอบเล่นการประกอบพิธีกรรม ตามแบบที่เห็นจากผู้ใหญ่เขาปฏิบัติกัน

        เมื่ออายุได้ ๑๙ ปี ขงจื่อแต่งงานกับฉีเฉวียน  จนมีบุตรคนแรกเมื่อขงจื่ออายุได้ ๒๐ ปี ตั้งชื่อบุตรว่า ขงหลี่  ตอนนี้เขาได้รับจ้างเลี้ยงฝูงแพะ  ต่อมาสมัครเป็นเสมียนในร้านค้าแห่งหนึ่งแล้วออกไปทำหน้าที่เป็นบรรณารักษ์ระยะหนึ่ง  เมื่ออายุได้ ๒๓ ปี มารดาก็ถึงแก่กรรม ด้วยระลึกถึงพระคุณมารดา ขงจื่อจึงไว้ทุกข์ให้มารดาเป็นเวลาสามปี ขณะเดียวกันเขาได้ศึกษาค้นคว้าจากตำราวิชาการต่างๆจนเป็นผู้รู้ท่านหนึ่ง  ในช่วงชีวิตของเขาเป็นสมัยที่บ้านเมืองกำลังแตกแยกเป็นก๊กเล็กก๊กน้อย การรบราฆ่าฟันกันเพื่อแย่งความเป็นใหญ่ของเจ้านครรัฐ แต่สร้างความเดือดร้อนให้ราษฎรเป็นอันมาก ถึงแม้จะมีอ๋องแห่งราชวงศ์โจวที่ปกครองทุกแคว้นก็ตาม  นอกจากชาวจีนด้วยกันเองแล้วยังมีพวกอู่หูชนภาคเหนือที่คอยรุกรานอีกด้วย  ขงจื่อจึงมีพื้นความรู้ทั้งฝ่ายบู๊และฝ่ายบุ๋น  เขาได้ศึกษาประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยราชวงศ์เซี่ยราชวงศ์ซังและราชวงศ์โจวที่เขามีชีวิตอยู่  พยายามหาแนวความคิดเกี่ยวกับการปกครอง ยุทธวิธีการสู้รบหรือพิชัยสงคราม ความเจริญรุ่งเรืองและการล่มสลาย  ของราชวงศ์เซี่ยและราชวงศ์ซัง  เมื่อประมวลความคิดแล้ว จึงวางแนวเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการปกครองว่าทำอย่างไรให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง โดยไม่ล่มสลายเหมือนสองราชวงศ์ดังกล่าว  การหลอมรวมแนวความคิดของเขาต้องใช้เวลานานบวกกับประสบการณ์ ขงจื่อจึงเดินทางไปตามแว่นแคว้นต่างๆ เพื่อเสนอแนวความคิดในการปกครอง  แต่ทว่าไม่มีเจ้านครองค์ใดให้ความสนใจ

        ขงจื่อจึงเดินทางไปเมืองหลู่ บ้านเกิด พร้อมเสนอความคิดการปกครองรูปแบบของเขา เจ้านครหลู่เห็นด้วยจึงตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาเมืองหลู่ เมื่อเขาอายุได้ ๕๔ ปีแล้ว ฝ่ายเมืองฉีซึ่งเป็นเมืองต่อแดนกับเมืองหลู่ เกรงอิทธิพลของเมืองหลู่จะรุกราน จึงมอบของบรรณาการมาให้เจ้านครหลู่ เป็นม้าอย่างดี ๑๐๐ ตัว และนักระบำเล่นดนตรีที่สวยงามอีกจำนวนหนึ่ง เจ้านครหลู่จึงหลงใหลนางระบำ และการเล่นดนตรีจนไม่ออกว่าราชการ ข้างขงจื่อเตือนสติแต่เจ้านครก็ไม่สนใจ  ขงจื่อจึงลาออก แล้วเดินทางต่อไปยังเมืองน้อยใหญ่ ทั่วประเทศทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงจีนภาคกลาง รวมทั้งเมืองอุย(เว่ย) เมืองซ่ง เมืองเฉิน(ตัน) เมืองฉู่(ฌ้อ)  ได้พบเห็นและสนทนาผู้คนนักปกครองหลายรูปแบบ

        ในที่สุดเห็นว่า การสร้างคนรุ่นใหม่ด้วยการขายแนวความคิดของตนให้เกิดขึ้นจำนวนมากแล้วกระจายไปตามแคว้นต่างๆ น่าจะดีกว่า ขงจื่อจึงริเริ่มหาสถานที่สร้างเป็นโรงเรียน แล้วรับเด็กหนุ่มๆที่มีสติปัญญาอยากเรียนมาเป็นนักเรียน  ขงจื่อจึงจัดวิชาความรู้ที่จะสอนนักเรียนให้เป็นหมวดหมู่  เป็นวิชา การปกครอง๑ การขับรถศึก๑ การยิงธนู๑ การสู้รบด้วยอาวุธประเภทต่างๆ๑ การดนตรี๑ การคิดเลข๑ การคัดลายมือ๑  ซึ่งจะเห็นว่าเป็นวิชาที่นักการทหารและนักปกครองจำเป็นต้องรู้  ปรากฏว่ามีเด็กหนุ่มให้ความสนใจมาก มาสมัครเรียนกับเขา ในช่วงชีวิตของเขา มีศิษย์กว่า ๓๐๐๐ คน

        ตามแนวความคิดของขงจื่อ เขาเชื่อว่า ฟ้าหรือ เทพเจ้าแห่งสวรรค์ เป็นผู้ทรงคอยแนะนำ ผู้ที่จะประสบผลสำเร็จก็ด้วยเจตจำนงของสวรรค์  การศึกษาจากประวัติศาตร์ เขาได้เลือกเอา พระเจ้าซังทัง แห่งราชวงศ์ซัง เป็นบุคคลในอุดมคติ ในสมัยราชวงศ์โจว เขาได้เลือกเอาพระเจ้าโจวเหวินหวางและพระเจ้าโจวอู่หวางและ โจวกง เป็นต้นแบบในอุดมคติ  เพราะบุคคลเหล่านั้น ล้วนเป็นผู้ทรงคุณธรรม มีมนุษยธรรมที่สมบูรณ์แบบ และบุคคลเหล่านั้นได้วางแนวปฏิบัติ ที่ยิ่งใหญ่ให้แก่สังคมของชาวจีนโดยเฉพาะราชวงศ์โจว ได้วางรากฐานที่เป็นต้นแบบของการปกครองไว้เป็นระบบ พิธีกรรมต่างๆ ตลอดจนการดนตรีและนาฏยการซึ่งเป็นส่วนเสริมสติปัญญาและคุณธรรม  บรรดาแคว้นต่างๆที่ไม่สงบสุข เป็นเพราะขาดการปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง

        ขงจื่อเป็นนักปฏิรูปคนหนึ่ง ด้วยการพยายามรื้อฟื้นสิ่งที่ดีๆที่ได้เคยปฏิบัติมาก่อนให้มาทำใหม่  คำสอนของขงจื่อเป็นคำสอนสำหรับคนดี นักปกครองที่มีความสามารถ สายตาไกล มองเห็นผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน  ขงจื่อจึงอุทิศตนเองเพื่อสอนเด็กหนุ่มรุ่นใหม่ ที่มีบุคลิกดี สติปัญญาดีโดยไม่คำนึงถึงพื้นเพชาติสกุลเดิมของพวกเขา  ขงจื่อเห็นว่าการศึกษาทำให้คนเป็นคนที่สมบูรณ์ได้

        อย่างไรก็ตาม คำสอนต่างๆของขงจื่อหรือลัทธิขงจื่อ ในช่วงสมัยที่เขายังมีชีวิตอยู่ มีคนสนใจน้อยมาก จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๔ จึงได้รับการยกย่องให้เป็นลัทธิประจำชาติ  ตำราต่างๆของขงจื่อจึงเป็นตำราที่นักศึกษาหามาอ่านและท่องจำ ตลอดจนนักการศึกษา นักปราชญ์ รัฐบุรุษให้ความสนใจศึกษา  แนวความคิดของขงจื่อยังได้ขยายไปสู่ประเทศเกาหลี ญี่ปุ่นและเวียดนามอีกด้วย 

        ขงจื่อจึงได้รับการยกย่องให้เป็นนักปราชญ์ผู้วิเศษ เป็นบรมครูชั้นยอด ดังนั้นสุสานของเขาและวัดฉวี่ฟูในมณฑลซานตง จึงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของผู้นับถือลัทธิขงจื่อ

        ผลงานที่สำคัญของเขา ได้มีศิษย์หลายรุ่นรวบรวมไว้ มีอยู่ ๒๐ บท ๔๔๗ คำโคลง บางส่วนเป็นคำพังเพย เป็นบทสนทนาระหว่างขงจื่อกับบรรดาศิษย์   

        ขงจื่อกล่าวว่า  “เมื่อข้าพเจ้าอายุ ๑๕ ปี ข้าพเจ้าตั้งใจศึกษาเล่าเรียน พออายุได้ ๓๐ ปี ข้าพเจ้าก็ตั้งหลักฐานได้มั่นคงแล้ว พออายุได้ ๔๐ ปี ข้าพเจ้าก็ไม่มีอะไรที่จะสงสัยอีกต่อไป พออายุ ๕๐ ปี ข้าพเจ้ารู้สึกเจตจำนงของสวรรค์ พออายุ ๖๐ ปี ข้าพเจ้าก็พร้อมที่จะฟังสวรรค์ พออายุ ๗๐ ปี ข้าพเจ้าก็จะดำเนินไปตามความปรารถนาแห่งหัวใจของข้าพเจ้า โดยไม่ละเมิดสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรมเลย”

 

        หัวข้อหลักคำสอนของขงจื่อคือ

 

๑. หลักการที่ก่อให้เกิดเอกภาพ การตอบแทนกันหรือหลักมนุษยธรรม

๒.    ความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา

๓.    พิธีรีตองและการดนตรี

๔.    เรื่องเกี่ยวกับศาสนา

๕.    เรื่องเกี่ยวกับคนดี

๖.    เรื่องเกี่ยวกับการปกครองโดยอาศัยคุณธรรมส่วนบุคคล

        ในบรรดาศิษย์จำนวนกว่า ๓๐๐๐ คนนั้น ที่ได้รับการยกย่องว่ามีคุณธรรมสูงมีความรู้สูง จำนวน ๗๒ คน  ศิษย์ที่สำคัญคือ เมิ่งจื่อ สวินจื่อ

        ขงจื่อถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ ก่อน ค.ศ. ๔๗๙ ในรัชสมัยพระเจ้าโจวจิ้งหวาง( จีไก้ ) แห่งราชวงศ์โจวตะวันออก เป็นปีที่ ๔๐ในรัชกาลดังกล่าว บุตรหลานที่สืบเชื้อสายแซ่ข่งต่างเข้ารับราชการ ได้รับตำแหน่งในระดับโหว ( เจ้าพระยา )จำนวน ๓๕ คนตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น และเป็น กง จำนวน ๔๒ คน ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังถึงราชวงศ์ชิง  ฮ่องเต้เฉินหลงได้ทรงอภิเษกกับบุตรสาวข่งเซียนเป่ยซึ่งเป็นรุ่นข่งที่ ๗๒

 

ตัวอย่างบทสนทนาคำสอนของขงจื่อ

 

·        ขงจื่อกล่าวว่า “เมื่อเดินอยู่ในกลุ่มคนสามคน ข้าพเจ้ามักจะมีครูเสมอ ข้าพเจ้ามักเลือกเอาคุณสมบัติที่ดีของคนๆหนึ่ง เอามาประพฤติเลียนแบบได้ แล้วเลือกเอาคุณสมบัติที่เลวๆของอีกคนหนึ่งออก แล้วนำเอามาแก้ไขตัวข้าพเจ้าเอง”

·        ขงจื่อกล่าวว่า  “ผู้ที่รู้สัจธรรม สู้ผู้ที่รักสัจธรรมไม่ได้ ผู้ที่รักสัจธรรม ก็สู้ผู้ที่ชื่นชมยินดีในสัจธรรมไม่ได้”

·        ขงจื่อกล่าวว่า   “ข้าพเจ้าจะสอนท่านได้ไหมว่า อะไรคือความรู้ เมื่อท่านได้รู้อะไรสักอย่างหนึ่ง ก็บอกว่ารู้ เมื่อไม่รู้อะไรสักอย่างหนึ่ง ก็บอกว่าไม่รู้ นั่นแหละคือความรู้ละ”

·        ขงจื่อกล่าวว่า   “เมื่ออยู่นอกบ้าน จงประพฤติอย่างกับท่านอยู่ต่อหน้าแขกคนสำคัญคนหนึ่ง จงปฏิบัติต่อสามัญชนดุจว่า ท่านประกอบพิธีที่สำคัญอยู่ จงอย่าทำแก่คนอื่นในสิ่งที่ท่านไม่ต้องการให้คนอื่นทำแก่ท่าน แล้วความไม่พอใจใดๆก็จะไม่เกิดขึ้น ทั้งในแว่นแคว้นและที่บ้าน”

·        ขงจื่อกล่าวว่า   “ผู้ที่มีความเมตตากรุณาปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นแต่งตั้งตน ก็จงหาวิธีการที่จะแต่งตั้งคนอื่นก่อน เมื่อปรารถนาที่จะให้งานประสบผลสำเร็จ ก็ต้องช่วยให้ผู้อื่นสัมฤทธิ์ผล จงพิจารณาตัดสินผู้อื่นโดยอาศัยสิ่งที่เรารู้ว่าเป็นวิธีที่จะได้บรรลุถึงหลักมนุษยธรรม”

·        ขงจื่อกล่าวว่า   “เมื่อธรรมชาติอยู่เหนือศิลปะ ท่านจะได้คนเซอะ  เมื่อศิลปะอยู่เหนือธรรมชาติ ท่านจะได้เสมียน ต่อเมื่อศิลปะและธรรมชาติ ต่างก็หันเข้ามากลมกลืนกันได้เท่านั้น ท่านจึงจะได้คนดี”

·        ขงจื่อกล่าวว่า  “คนดี จะต้องปฏิบัติสิ่งที่เขาสอนได้ก่อน แล้วจึงสอนสิ่งที่เขาปฏิบัติ”

มีอยู่ ๔ ประการที่ขงจื่อพยายามที่จะขจัดให้หมดไป คือ จิตที่ลำเอียง๑ การตัดสินใจโดยปราศจากเหตุผล๑ ความเป็นคนว่ายากสอนยาก๑ ความเห็นแก่ตัว๑

 

 

       :    สมบูรณ์ แก่นตะเคียน   ๔ เมษายน ๒๕๕๑

 

Title :    Confucius

 

       :    Somboon Kantakian

 

      

      

 

 

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน