Bookmark and Share Add to Favorites  
สมาชิกเข้าสู่ระบบ
User Name:
Password:
จำการล็อกอินของฉันไว้
ลืมรหัสผ่าน | สมัครสมาชิก
ลืมรหัสผ่าน
ใสอีเมล์ที่ลงทะเบียนไว้กับเรา
จีนศึกษา
  CHINESE TEXT PROJECT
  STANDARD CHINESE
  เส้นสายลายอักษร
  ลัทธิเต๋า
  รวมเรื่องจีนศึกษา-China Knowledge
  วัฒนธรรมศึกษาจากเว็บต่างๆ
  วัฒนธรรมศึกษาจากภาพ
  พระบรมฉายาลักษณ์ของฮ่องเต้
  มังกรจีนสมัยโบราณ
  มังกรจีนศึกษา
  เลือกเพศให้ลูก
  จีนโบราณจาก บริทิชมิวเซียม
  การเดินทางไกลของเหมาเจ๋อตุง
  จีนในปัจจุบัน
แซ่สกุล
  แซ่ตระกูลที่ใช้กันมาก
  ข้อมูลตระกูลแซ่ต่างๆ
  ประวัติบางแซ่สกุล
  200 แซ่สกุลที่ใช้มาก
  ตระกูลแซ่หลิน
มหาวิทยาลัยชั้นนำ
  BEIJING UNIVERCITY
  Shanghai Jiao Tong University
  Tsinghua University
  Xi'an Jiaotong University
  The Chinese University of Hong Kong
  The University of Hong Kong
  The Hong Kong University of Science and Technology
  Southeast University
  East China Normal University
  Tongji University
  Huazhong University of Science and Technology
  The Hong Kong Polytechnic University
  Tianjin University
  City University of Hong Kong
  Harbin Institute of Technology
  Wuhan University
  China Agricultural University
  Renmin University of China
  Xiamen University
  Fudan University
  Hong Kong Baptist University
  Shandong University
  Nanjing University
  University of Science and Technology of China
  Zhe Jiang University
พิพิธภัณฑ์และหอสมุด
  NATIONAL LIBRARY OF CHINA
  CHINA'S MUSEUMS
  GREAT WALL OF CHINA
  SACRED MOUNTAINS OF CHINA
หนังสือพิมพ์
  ซินหัวไทย
  People's Daily
  Xinhua
  China Daily
  China News
  China .com.cn
  China Youth Daily
เจ - มังสวิรัติ - VEGETARIAN
  เจ-อิ่มบุญ
  พลังบุญ
  เมนูอาหารเจ
  เจทิพย์
  อาหารมังสวิรัติ
  International Vegetarian Union (IVU)
  The Veggie Hub
  Vegetarianism
  A Guide to Vetetarian
  simple-veganista.com/all-recipes
เว็บเครือสมบูรณ์
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
  ตระกูลแซ่หลิน
  ภูเก็ตสารสนเทศ
  สมบูรณ์แก่นโน้ต

เล่าจื่อ

 

 

 

        เล่าจื่อ 老子  หรือ เล่าจื๊อ ผู้เป็นปรมาจารย์แห่งลัทธิเต๋า ซึ่งลัทธินี้ได้ยกย่องให้เล่าจื่อเป็นหนึ่งในเทพเจ้าสูงสุดทั้งสามองค์ในพระนามว่า ไท่ซังเล่าจวิน 太上老君 เล่าจื่อมีชีวิตอยู่ในช่วง ๓๘๔ – ๓๖๒ ก่อนค.ศ. ในรัฐฉิน สมัยพระเจ้าเสวียนกง ( อิงสื่อตี้ ) 獻公 เป็นเจ้านครรัฐ ซึ่งเป็นสมัยจ้านกั๋ว ที่มีการแบ่งแยกเป็นรัฐต่างๆมีการสู้รบแก่งแย่งกันเป็นใหญ่ตลอดเวลา บ้านเมืองจึงวุ่นวายแทบทุกนครรัฐ หรือเทียบได้กับสมัยราชวงศ์โจวตะวันออก รัชกาลพระเจ้าโจวอันหวาง ( จีเจี่ยว ) ครองราชย์ระหว่าง ก่อน ค.ศ. ๔๐๑ – ๓๗๖ และพระเจ้าโจวเล่ยหวาง ครองราชย์ระหว่างก่อน ค.ศ. ๓๗๕ – ๓๖๙ เล่าจื่อจึงมีอายุรุ่นหลังกว่าขงจื่อ เมื่อขงจื่อถึงแก่อนิจกรรมแล้วไม่ต่ำกว่าหนึ่งร้อยปี เล่าจื่อจึงถือกำเนิด

        เล่าจื่อถือกำเนิดในตระกูลแซ่หลี่ เดิมชื่อ เอ้อ เป็น หลี่เอ้อ หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ตั้น เป็น หลี่ตั้นหรือ เล่าตั้น แปลว่าผู้มีหูยาว  ชื่อแบบฉบับเฉพาะตนว่า ปั๋วเอี๋ยง  ส่วนคำว่า เล่าจื่อ เป็นคำกล่าวยกย่อง จากคำว่า เล่า หมายถึง ผู้เฒ่า ส่วน จื่อ หมายถึง ครู หรือ ครูเฒ่า บางตำนานว่า มารดาได้คลอดใต้ต้นพลัม บุคลิกอย่างหนึ่งของเขาคือ ผู้มีใบหูยาว ซึ่งแสดงถึงผู้มีอายุยืนและเฉลียวฉลาด ต่อมาไว้หนวดเคราสีเทายาว เขาเคยแต่งงานมีบุตรคนหนึ่งชื่อ หลี่จ้ง เข้ารับราชการได้รับตำแหน่งนายทหารในฝ่ายพิธีกรรม และเคยดำรงตำแหน่ง อาลักษณ์ฝ่ายจดหมายเหตุในราชสำนัก หรือพนักงานหอพระสมุดในสมัยราชวงศ์โจวตะวันออก  ในขณะที่รับราชการ เขาได้เขียนหนังสือสองตอน ( เล่ม ) เขามีความรู้กว้างขวางด้านวิชาประวัติศาสตร์และวิชาดาราศาสตร์

        ด้วยเหตุที่บ้านเมืองมีการแตกแยกรบรากันมาก เขาเกิดความเบื่อหน่ายในระบบราชการ  จึงขอลาออกจากราชการ แล้วเตรียมตัวเดินทางไปภูมิภาคตะวันตก  เมื่อเขาเดินทางถึงด่านหันกู่ อินซี นายด่านจึงชวนสนทนากับเขา และได้พำนักอยู่ที่ด่านนั้นระยะหนึ่ง อินซีจึงขอให้เขาเขียนเรื่องราวต่างๆที่ได้มีการสนทนากันนั้น  เล่าจื่อจึงใช้เวลาไม่นาน เขียนเรื่องที่เขาเล่าให้อินซีฟัง เป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวความคิดของเล่าจื่อ ยาวประมาณ ๕๐๐๐ คำ เรียกว่า “เต้าเต๋อจิง”   ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ว่าด้วยแนวปฏิบัติกับมรรคหรือหนทางและอำนาจของมรรค หรือวิถีทางของธรรมชาติ เป็นเรื่องเกี่ยวกับเทพเจ้า สวรรค์ หรือพลังอำนาจที่อยู่เหนือมนุษย์ ซึ่งได้เป็นที่นิยมมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซังแล้ว ที่เป็น “หนทาง” หรือ “พรหมลิขิต”จากสวรรค์ ลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื่อได้สืบทอดกันมาเป็นระยะเวลานาน ที่แตกต่างกันตรงที่ลัทธิเต๋าถือเอาการปลีกวิเวกออกจากสังคมเสีย ถือเอาการวางเฉยเป็นหนทางที่ดีที่สุด แต่นักประวัติศาสตร์บางคนกล่าวว่า เป็นแนวคิดของศิษย์เล่าจื่อเขียนไว้ประมาณ ก่อน ค.ศ. ๒๐๐

        ชีวประวัติของเล่าจื่อมีข้อมูลน้อยมาก จึงไม่ทราบเรื่องราวของท่านมากนัก

 

ตัวอย่างคำสอนของเล่าจื่อ ( เต้าเต๋อจิง )

 

O    วิถีทางแห่งเต๋า ที่เราจะบอกให้ทราบได้นั้น

 

          -   หาใช่เป็นเต๋า ชนิดที่เป็นนิรันดรไม่

O    ชื่อที่เราตั้งให้นั้น

          -   หาใช่เป็นชื่อที่นิรันดรไม่

O    สิ่งที่เป็นนิรนาม คือเป็นบ่อเกิดของฟ้าและดิน

O    สิ่งที่พอจะตั้งชื่อได้นั้น ใหญ่กว่าสิ่งทั้งปวง

O    สิ่งที่ไม่มีอยู่เป็นนิจนั้น

       -   เราอาจเข้าใจความลับภายในของสิ่งนั้นได้

O    สิ่งที่มีอยู่เสมอนั้น

       - เราอาจมองเห็นการปรากฏตัวของสิ่งภายนอกของสิ่งนั้นได้

O    สิ่งทั้งหลายซึ่งเป็นสิ่งเดียวกันนั้นเป็นสิ่งลึกลับ

       -   เป็นความลึกลับเหนือความลึกลับทั้งปวง

       -   เป็นประตูของสิ่งละเอียดอ่อนทั้งมวล

 

                      .........................

 

O    การก่อให้เกิดและทำนุบำรุง

      การก่อให้เกิดแต่ไม่อ้างสิทธิ์

      การได้รับแต่ไม่ถนอมไว้

      การเป็นผู้ทำแต่ไม่เป็นนาย

      นี้ เป็นคุณธรรมที่ลึกลับ  ( เต๋า )

O    รัฐบาลที่ดีที่สุด ก็คือรัฐบาลที่ประชาชน เพียงแต่รู้ว่ามีอยู่เท่านั้น ถัดมาก็คือ รัฐบาลที่ประชาชนรักและยกย่อง ถัดมาอีกก็คือ  รัฐบาลทีประชาชนเกลียด ...

 

 O    ผู้ที่ยิ่งใหญ่ทั้งสี่ในจักรวาล คือ

       เต๋า ที่ยิ่งใหญ่ สวรรค์ที่ยิ่งใหญ่  โลกที่ยิ่งใหญ่  กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่  มนุษย์ดำเนินไปตามวิถีของดิน  ดิน ดำเนินไปตามวิถีของสวรรค์  สวรรค์ดำเนินไปตามวิถีของ เต๋า  เต๋าดำเนินไปตามวิถีของตนเอง

O       การให้ชีวิต แต่ไม่เป็นเจ้าของ

การได้รับ แต่ไม่ยึดมั่น

การนำ แต่ไม่เป็นนาย

นี้ เป็นคุณธรรมที่ยิ่งใหญ่

O     ในบรรดาสิ่งทั้งหลายที่อ่อนน้อมและอ่อนแอในโลกนี้

        -    ไม่มีสิ่งใดที่อ่อนน้อมอ่อนแอยิ่งไปกว่าน้ำ

        -    การโจมตีสิ่งที่ไม่ยอมอ่อนน้อมและเข้มแข็งนั้น

        -    ก็ไม่มีอะไรวิเศษไปกว่าน้ำ

        -    ไม่มีอะไรที่จะครองแทนน้ำได้

        สรุป  “เต๋าเป็นสิ่งที่ไม่มีเบื้องต้น และไม่มีที่สิ้นสุด สิ่งทั้งหลายเกิดมาแล้วก็ตาย หรือสลายไปโดยไม่มีอะไรที่จะอยู่ค้ำฟ้าได้เลย สิ่งเหล่านั้นเดี๋ยวก็ว่าง เดี๋ยวก็เต็ม โดยไม่มีรูปที่คงที่เหลืออยู่ เราไม่อาจทำให้ ปี หยุดเองได้ เราไม่อาจจับ กาลเวลา ไว้ได้ กระบวนของความเจริญ และความเสื่อม ยังคงดำเนินต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด และที่สุดของทุกครั้ง จะมีการเริ่มต้นใหม่ ติดตามมาเสมอ ดังนั้น ธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ของเต๋า จึงซึมซับอยู่ต่อไปในสิ่งทั้งปวง”

       

 

              :    สมบูรณ์ แก่นตะเคียน  ๕ เมษายน ๒๕๕๑

 

Title        :   Lao Zi

 

              :   Somboon Kantakian

 

 

 

       

 

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน