Bookmark and Share Add to Favorites  
สมาชิกเข้าสู่ระบบ
User Name:
Password:
จำการล็อกอินของฉันไว้
ลืมรหัสผ่าน | สมัครสมาชิก
ลืมรหัสผ่าน
ใสอีเมล์ที่ลงทะเบียนไว้กับเรา
จีนศึกษา
  CHINESE TEXT PROJECT
  STANDARD CHINESE
  เส้นสายลายอักษร
  ลัทธิเต๋า
  รวมเรื่องจีนศึกษา-China Knowledge
  วัฒนธรรมศึกษาจากเว็บต่างๆ
  วัฒนธรรมศึกษาจากภาพ
  พระบรมฉายาลักษณ์ของฮ่องเต้
  มังกรจีนสมัยโบราณ
  มังกรจีนศึกษา
  เลือกเพศให้ลูก
  จีนโบราณจาก บริทิชมิวเซียม
  การเดินทางไกลของเหมาเจ๋อตุง
  จีนในปัจจุบัน
แซ่สกุล
  แซ่ตระกูลที่ใช้กันมาก
  ข้อมูลตระกูลแซ่ต่างๆ
  ประวัติบางแซ่สกุล
  200 แซ่สกุลที่ใช้มาก
  ตระกูลแซ่หลิน
มหาวิทยาลัยชั้นนำ
  BEIJING UNIVERCITY
  Shanghai Jiao Tong University
  Tsinghua University
  Xi'an Jiaotong University
  The Chinese University of Hong Kong
  The University of Hong Kong
  The Hong Kong University of Science and Technology
  Southeast University
  East China Normal University
  Tongji University
  Huazhong University of Science and Technology
  The Hong Kong Polytechnic University
  Tianjin University
  City University of Hong Kong
  Harbin Institute of Technology
  Wuhan University
  China Agricultural University
  Renmin University of China
  Xiamen University
  Fudan University
  Hong Kong Baptist University
  Shandong University
  Nanjing University
  University of Science and Technology of China
  Zhe Jiang University
พิพิธภัณฑ์และหอสมุด
  NATIONAL LIBRARY OF CHINA
  CHINA'S MUSEUMS
  GREAT WALL OF CHINA
  SACRED MOUNTAINS OF CHINA
หนังสือพิมพ์
  ซินหัวไทย
  People's Daily
  Xinhua
  China Daily
  China News
  China .com.cn
  China Youth Daily
เจ - มังสวิรัติ - VEGETARIAN
  เจ-อิ่มบุญ
  พลังบุญ
  เมนูอาหารเจ
  เจทิพย์
  อาหารมังสวิรัติ
  International Vegetarian Union (IVU)
  The Veggie Hub
  Vegetarianism
  A Guide to Vetetarian
  simple-veganista.com/all-recipes
เว็บเครือสมบูรณ์
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
  ตระกูลแซ่หลิน
  ภูเก็ตสารสนเทศ
  สมบูรณ์แก่นโน้ต

สัญลักษณ์ของชนเผ่าซัง

 


 

สัญลักษณ์ของชนเผ่าซัง

 

 

               สิ่งสำคัญประการหนึ่งของชนเผ่าซังก็คือ  สัญลักษณ์ประจำเผ่า   คือ  นก  เรียกว่า  เซวียน    (  Xuan  )   ซึ่งเป็นนกชนิดหนึ่ง  บ้างว่า เป็นนกนางแอ่น  บางตำนานว่าเป็นนกฟินิกซ์   คำว่าเซวียน  แปลว่า สีดำ  สัญลักษณ์จึงเป็นนกสีดำ    (  Xuan  niao  )   ชนเผ่าซังเช่นเดียวกับชุมชนเผ่าที่อยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าฝูซีซื่อมาแต่เดิม  คือ เป็นชนเผ่าอี้  อาศัยอยู่บริเวณมณฑลซานตง  เจียงซูมาก่อน  เข้าใจกันว่า  พระเจ้าหวงตี้ทรงถือกำเนิดบริเวณแห่งนี้ด้วย  โอรสของพระองค์ คือ พระเจ้าจิ้นเทียนซื่อหรือพระเจ้าเส้าหาวซื่อ  ผู้สืบราชบัลลังก์ต่อมา  ทรงใช้สัญลักษณ์รูปนก เป็นของชนเผ่า  อย่างไรก็ตาม  ในชุมชนเผ่าย่อยของชนเผ่าอี้  ต่างใช้สัญลักษณ์รูป นก  และเรียกขานแตกต่างกันไป  เช่นชุมชนนกฟินิกซ์   (  Feng niao shi  )   ชุมชนนกสีเขียว   นกสีขาว  นกสีแดง  นกสีน้ำเงิน  นกสีเหลือง  เป็นต้น  ทุกกลุ่มชาวอี้ต่างถือเอารูปนกเป็นสัญลักษณ์  และใช้สีเป็นเครื่องหมายว่าเป็นอี้กลุ่มไหน  แล้วนำสีดังกล่าวไปเป็นสีของเครื่องแต่งกายประจำกลุ่มด้วย  จึงเรียกขานกันว่า  อี้แดง อี้ขาว อี้เหลือง อี้ดำ เป็นต้น  ได้มีการกล่าวก่อนราชวงศ์ซังจะล่มสลายว่า   “เสียงนกฟินิกซ์ร้องก้องอยู่บนภูเขาชีซาน”   นั่นก็คือ  อำนาจของราชวงศ์ซัง  ซึ่งยึดถือนกฟินิกซ์เป็นสัญลักษณ์กำลังจะล่มสลาย  เพราะนกฟินิกซ์ก่อนตาย  จะร้องเสียงก้องกังวานและวังเวง  ตัวนกจะลุกเป็นไฟเผาตัวเอง  เหลือแต่เถ้าถ่านแล้วเกิดใหม่

 

 

             มังกร  เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่มีมาตั้งแต่สมัยซานหวงอู่ตี้    สมัยพระเจ้าหวงตี้  กล่าวว่า วันหนึ่งพระองค์ทอดพระเนตรขึ้นไปบนท้องฟ้าเห็นมีแสงสว่าง  ปรากฏว่ามีมังกรตัวหนึ่งลอยลงมาหาพระองค์  แสดงกิริยาเหมือนเชิญให้ประทับบนหลัง  ทรงเห็นว่าเทพยดาให้มังกรมารับ  จึงทรงจูงพระหัตถ์มเหสีประทับบนหลังมังกรแล้วเหาะขึ้นสวรรค์  ความเชื่อของสังคมจีนเกี่ยวกับมังกรมีมาหลายพันปีแล้ว

 

 

          จากการศึกษาหนังสือภาพเครื่องทองบรอนซ์สมัยราชวงศ์ซัง  จำนวน ๔ เล่มจบ  เฉพาะเล่ม ๔  จำนวน  ๑๗๔  ชิ้น ( ภาพ ) จะมีภาพเทาเท่ย  ๘๒  ชิ้น  และภาพมังกร  ๕๗  ชิ้น  ภาพเหล่านี้เป็นภาพลายเส้น  บางภาพเป็นภาพลอยนูน  ที่น่าสนใจคือ ภาพลอยนูน  รูปมังกร  ลำตัวยาวเหมือนงู  มี ๒ เขา มีใบหู  ดูเหมือนจะมีเพียงสองขา  มีครีบหลัง  มีหาง มีหนวดสองเส้น  ก่อนถึงปลายหาง  จะมีกระโดงหลังแหลม  เขาทั้งสองถ้าเป็นภาพลอยตัวหรือลอยนูน  ปลายเขาจะทู่หรือปลายตัด  ถ้าเป็นภาพลายเส้นจะเป็นเขายาวแหลม  ภาพเขาตัดปลายจะมีน้อยมาก  อาจจะเกี่ยวกับเทคนิคการหลอมก้ได้   จากข้อสังเกตภาพสัตว์ชนิดต่างๆที่ปรากฏบนเครื่องภาชนะทองบรอนซ์  จำนวน  ๗๐๕  ภาพ   จะเป็นสัตว์ที่พบเห็นได้ทั้งสิ้น  ไม่มีภาพสัตว์แบบจินตนาการ  ยกเว้นหน้าเสี้ยวของเทาเท่ยที่ได้พัฒนารูปแบบใบหน้าไป   ผู้เขียนเข้าใจว่าในสมัยนั้นตัวมังกรน่าจะมีอยู่จริง  เป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่ยังหลงเหลืออยู่ตามแม่น้ำหวงเหอ  แยงซี หรือแม่น้ำอื่น  ตลอดจนหนองบึงขนาดใหญ่  เมื่อกว่า  ๕๐๐๐ ปีมาแล้ว   คงจะมีลำตัวยาวใหญ่หลายเมตรคล้ายงูเหลือม  ต่อมาได้สูญพันธุ์ไปตามกาลเวลา  ผู้นำชนเผ่าได้ยึดถือเอาเป็นสัตว์วิเศษเพราะหายากน่าเกรงขาม  จึงถือเอาเป็นพญางูใหญ่  หรือ มังกรสืบต่อกันมา

 

 

           เมื่อกาลเวลาผ่านไป  รูปร่างมังกรได้รับการพัฒนาโดยไปดึงเอารูปร่างเด่นๆของสัตว์บางชนิดเข้ามาประกอบ  คือ  เอาหัวของอูฐ  เอาตากระต่ายป่า  เอาท้องจระเข้  เอากรงเล็บเหยี่ยว  เอาอุ้งเท้าเสือ  เอาหูควาย  เอาเขากวาง  เอาแผงคอม้า  มารวมกันเข้า  เป็นพญามังกรสี่ขา  มีหนวดสองเส้น  ส่วนกรงเล็บมี  ๕  นิ้ว  รูปร่างมีทั้งอ้วนและผอม  หางคล้ายปลา  ฟันบนมีเขี้ยวหนึ่งคู่  ส่วนสีตั้งแต่สีเขียวไปยันสีทอง

 

 

          ผู้นำชนเผ่าหรือกษัตริย์  ได้ใช้มังกรเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนพระองค์   และเป็นผู้พิทักษ์เทพเจ้าด้วย  ลัทธิเต๋าถือว่า  มังกรมีทั้งหมด  ๑๑๗  รูปแบบ  มี ๘๑ รูปแบบที่เกี่ยวกับพลัง

 

 

หยาง  และ ๓๖ รูปแบบที่เป็นพลังหยิน  ซึ่งสะท้อนบุคลิกของมังกร  ยกเว้น  พญามังกรบนสวรรค์  มีพลังหยางทั้งหมด  มังกรออกไข่  ใช้เวลาฟักไข่  ๑๐๐๐  ปี  จึงออกเป็นตัว  และอีก ๑๕๐๐ ปี จึงเจริญเต็มที่ 

 

 

          มังกร  ถ้าแบ่งตามภาระหน้าที่แล้วมี  ๔  ชนิด  คือ

 

 

          ๑)   เทียนหลง   มีหน้าที่พิทักษ์รักษาปราสาทเทพเจ้าบนสวรรค์

 

 

          ๒)   เฉินหลง   มีหน้าที่คอยควบคุมลมและฝน

 

 

          ๓)   ตี้หลง    มีหน้าที่ควบคุมน้ำและแม่น้ำบนพื้นโลก

 

 

          ๔)    ฟุตหลง   มีหน้าที่เฝ้าทรัพยากรธรรมชาติพวกแร่ธาตุมีค่าใต้ดิน

 

 

          ชาวจีนได้นำรูปมังกรไปใช้ประกอบอาคารสิ่งก่อสร้างตลอดจนเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ  เช่น  ระฆัง  กลอง  บนแท่นศิลาจารึก  ชายคาศาลเจ้า  พระราชวัง  คานสะพาน ด้ามดาบ  เป็นต้น

 

 

          มังกรของจีนมี  ๕  เล็บนิ้ว  ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของฮ่องเต้เท่านั้น   หากแสดงงิ้วเป็นฮ่องเต้ให้ใช้ ๔ นิ้ว  นอกจากนี้เข้าใจว่ายังกำหนดให้ประเทศราชสมัยก่อน  เช่น เกาหลีใช้  มังกร ๔ เล็บนิ้ว  ญี่ปุ่นมี ๓ เล็บนิ้ว  เวียดนามเข้าใจว่ามี ๓ เล็บนิ้ว หรือประเทศภูฏานมี ๓ เล็บนิ้ว

 

 

         กล่าวกันว่า   ได้มีการพบตัวมังกรที่แม่น้ำแยงซียาว  ประมาณ ๑๐ ฟุต  ออกมานอนผึ่งแดดที่ฝั่งแม่น้ำดังกล่าว  ในปี พ.ศ.  ๒๔๖๓  มีครูคนหนึ่งเห็นมังกรตัวใหญ่มากที่แม่น้ำหวงเหอ  มังกรทั้งสองตัวผู้พบเห็นกล่าวว่า  มันจะว่ายลงน้ำทันทีเมื่อฝนตก

 

 

          หงส์   เป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งของจีนที่คู่กับมังกร  คำว่า หงส์  ภาษาจีนเรียกว่า  เฝิงหวง   (  Feng huang )   จากตำนานประวัติพระเจ้าหวงตี้  กล่าวว่า  พระองค์ทรงปกครองไพร่บ้านพลเมืองด้วยความเป็นธรรม   บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข  ขนาดว่า  หงส์ซึ่งอาศัยอยู่ในป่าใหญ่  ยังได้บินมาทำรังบนหลังคาพระตำหนักของพระองค์  เมื่อถึงสมัยพระเจ้าจิ้นเทียนซื่อ  โอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าหวงตี้  กล่าวว่ามีหงส์บินมาเกาะหลังคาพระตำหนักของพระองค์  ทรงเห็นว่าเป็นมงคล  จึงทรงแต่งตั้งตำแหน่งขุนนางให้มีคำว่าหงส์อยู่ด้วย  และโปรดฯให้ปักรูปหงส์บนเสื้อคลุมประจำตำแหน่งยศตั้งแต่นั้นมา   

 

 

           ในสมัยราชวงศ์ฮั่น  (  ก่อน พ.ศ. ๗๔๕   )  ได้ใช้สัญลักษณ์ของหงส์เป็นส่วนภาคใต้ของจีนคือแถบฝูเจี้ยน กว่างตง กว่างซี ฯลฯ  เป็นรูปหงส์ตัวผู้และตัวเมียหันหน้าเข้าหากัน   หงส์เป็นสัตว์ของราชวงศ์ที่แสดงถึงความซื่อสัตย์  ความมีคุณธรรม   ความยิ่งใหญ่  ที่ทรงพลัง  ความมีน้ำใจ  ความร่ำรวย   แสดงพลังของหยินและหยาง  ความไม่เบียดเบียนใคร   เป็นต้น

 

 

          สัญลักษณ์รูปหงส์มักหมายถึง  ผู้หญิง   และเป็นสัญลักษณ์ของสมเด็จพระจักรพรรดินี หรือ สตรี  และใช้คู่กับ มังกร  ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ สมเด็จพระจักรพรรดิ หรือ บุรุษ    เชื่อกันว่า  หงส์  เป็นเทพสัตว์ที่ส่งมาจากสวรรค์ประทานแด่  สมเด็จพระจักรพรรดินี 

 

 

          ข้อสังเกตจากภาพภาชนะทองบรอนซ์ราชวงศ์ซัง  จะเห็นว่า  มีรูปนกประกอบคู่กับมังกร  แต่อยู่คนละแถว  บางชิ้นจะมีนกอื่นๆเช่น นกฮูก  นกตัวคล้ายไก่มีหงอนแต่หางสั้น   ส่วนนกที่เข้าใจว่าน่าจะเป็น หงส์  เป็นรูปนกที่มีปากงุ้มคล้ายนกแก้ว  มีขนพู่คล้ายหงอนจากหัวลงมายังลำคอ  หงอนจะใหญ่  มีสร้อยใต้หูใต้ตาคล้ายไก่ป่า  มีปีกใหญ่   มีขนหางสั้นและขนแผงยาวมากคล้ายสามแผงใหญ่ และโค้งลง  ตีนนกมีเดือยแหลม

 

 

          รูปสัตว์ที่แกะสลักบนภาชนะทองบรอนซ์สมัยราชวงศ์ซัง   ล้วนเป็นสัตว์ที่มีอยู่ในโลก  ถึงแม้จะไม่มีในพื้นที่ภาคกลางภาคเหนือของจีน เช่น ช้าง  ก็ยังเป็นรูปสัตว์จริงๆ  ดังนั้นรูปหงส์ที่เป็นสัญลักษณ์ของราชวงศ์ซังและราชวงศ์ต่อมา  คงใช้รูปนกที่มีอยู่ในจีนนั่นเอง   เมื่อพิจารณารูปร่างและสภาพพื้นที่แล้ว  น่าจะเป็น ไก่ฟ้าสีทอง    ( Golden  Pheasant )     ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ภาคกลางและภาคกลางตอนใต้  ภาคตะวันตกแถบมณฑลเสฉวน  ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของยูนนาน   ไก่ฟ้าสีทองชอบอาศัยอยู่ตามป่าไผ่ ตามภูเขา  ทุ่งหญ้าทั่วไปในปัจจุบัน  จากหัวถึงปลายหางตัวผู้ยาวกว่าหนึ่งเมตร  ตัวเมียยาวกว่าห้าสิบเซ็นติเมตร  น้ำหนักประมาณ  ๖๕๐  กรัม   จีนเรียกว่า  ป่าวจี   ( Baoji )   และใช้เป็นชื่อเมืองป่าวจี มณฑลซานซี 

 

 

           ในสมัยราชวงศ์ฮั่นซึ่งมีนักปราชญ์ราชบัณฑิตมากมาย  คงจะได้พัฒนารูปหงส์ไปสู่สีสันที่สวยงามมากขึ้น   ด้วยการนำจุดเด่นของสัตว์แต่ละชนิดมารวมอยู่ในรูปหงส์  คือ  หัว เอามาจากไก่ฟ้าสีทอง  ปากเอามาจากนกยูงหรือนกแก้ว  ลำตัวเอามาจากเป็ดแมนดาริน   ปีกเอามาจากพญาอินทรีย์  ขนหางเอามาจากขนหางนกยูง   ขาเอามาจากนกกระเรียน  สีขนมีสีดำ ขาว แดง เขียวและ เหลือง

 

 

          คำว่า  หงส์  ภาษาอังกฤษใช้ว่า    Chinese  Phoenix    - ไชนิซ ฟีนิกซ์   ซึ่งแตกต่างจากนกฟีนิกซ์ของอียิปต์และยุโรป  ญี่ปุ่น  เรียกว่า  โฮ- โอะ  ตัวผู้เรียกว่า  โฮ  ตัวเมียเรียกว่า  อู   ส่วนหงส์ของไทย เป็นนกตระกูลชั้นสูง  ร้องเสียงไพเราะ  เป็นพาหนะของพระพรหม  สีขนเป็นสีแดงปนเหลืองหรือสีแดงแสด  หงส์เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์   นอกจากนี้ประเทศพม่ามอญใช้หงส์เป็นสัญลักษณ์เช่นกัน

 

 

 

         :  สมบูรณ์ แก่นตะเคียน     ๑๘  สิงหาคม    ๒๕๕๐

 

 

 

Title  :  Shang Dynasty' s Totem

 

 

        :  Somboon Kantakian 

 

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน